2551-09-05

ทำธุรกิจอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ

ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจ (Business) หมายถึง กระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์เป็นระบบและอย่างต่อเนื่องในด้านการผลิต การซื้อขายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าและบริการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้กำไรหรือผลตอบแทนจากกิจกรรมนั้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจกรรมใดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้กำไร (Profit) ถือว่าเป็นธุรกิจ เช่น บริษัท, ห้างร้าน ตลอดจนรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ การดำเนินของรัฐ เช่น การป้องกันประเทศ, การสร้างถนนหนทาง, โรงเรียน, โรงพยาบาล และอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจ เพราะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายด้านกำไร แต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชนโดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ธุรกิจใสมัยใหม่จะมองแต่เรื่องของกำไรไม่ได้ ที่สำคัญต้องมองและนึกถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค ว่าจะได้รับอะไรจากสินค้าหรือบริการ และทำให้เศรษกิฐ การเมือง และสังคมเจริญไปด้วย

ความสำคัญของธุรกิจ
  1. ธุรกิจช่วยให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง
  2. ธุรกิจทำให้ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
  3. ธุรกิจทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
  4. ธุรกิจช่วยแก้ปัญหาทางสังคม
  5. ธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

หลักการทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

หลักการ = เอาผลลัพธ์สุดท้าย นั่นก็คือ กำไร แล้วจะทำอย่างไรที่จะเอาผลที่ได้จากการทำธุรกิจคืนให้กับประเทศชาติ

องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในธุรกิจมีอยู่ 10 ประการ คือ

  1. กระหายในความสำเร็จ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบธุรกิจ เพราะหากไม่มีความต้องการในข้อนี้ก็จะไม่มีพลังผลักดันให้ผู้ประกอบการลุกขึ้นมาดำเนินการให้บรรลุตามเป้าได้เลย
  2. ชอบเสี่ยง เป็นที่รู้จักกันดีว่า "ธุรกิจ" กับ "ความเสี่ยง" เป็นของคู่กัน ดังนั้น การจะตัดสินใจทำอะไรก็แล้วแต่ควรอยู่บนพื้นฐานความเสี่ยงน้อยที่สุด ควรตัดสินใจให้รอบคอบและไม่ประมาท
  3. มีความคิดสร้างสรรค์ และสร้างฝันให้ยิ่งใหญ่ ผู้ประกอบการควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มองให้รอบด้านสามารถมองจากจุดเล็ก ๆ และสานฝันให้สามารถขยายกิจกาให้ใหญ่โตขึ้นได้
  4. มีความยึดมั่นไม่ย่อท้อ ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จได้คือบุคคลที่ไม่ล้มเลิกอะไรง่าย ๆ ควรมองว่าความล้มเหลวหลายต่อหลายครั้งที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนบันไดที่จะนำเราไปสู่จุดที่สูงกว่า
  5. มีความเชื่อมั่น ผู้ประกอบการควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าที่จะลองในสิ่งใหม่ ๆ เพราะอย่างน้อยนั่นก็คือการให้กำลังใจที่ดีที่สุดแก่ตัวเอง
  6. มีความสามารถในการตัดสินใจ การตัดสินใจถือเป็นการสร้างความมั่นใจให้เพิ่มขึ้นไม่ว่าผลของการตัดสินใจนั้นจะสำเร็จหรือล้มเหลว แต่หากได้ลองทบทวนเหตุผลให้ดีแล้ว ก็จงเคารพในการตัดสินใจนั้น
  7. มองการเปลี่ยนแปลงคือโอกาส การเปลี่ยนแปลงถือเป็นโอกาสสำคัญอย่างหนึ่งทางธุรกิจ สิ่งใหม่ ๆ อาจเกิดขึ้นในช่วงนี้ หากเรารู้จักนำการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็คือเป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่งทางธุรกิจ
  8. มีความอดทนต่อความไม่แน่นอน ควรเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดฝัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั้งด้านดีและด้านร้าย ตลอดจนปัจจัยที่ไม่ควบคุมได้ด้วยตัวเรา เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สภาพภูมิอากาศ ฯลฯ ควรอดทนรอคอยสิ่งดี ๆ ที่จะมาถึงในอนาคต
  9. รู้จักเริ่มต้นและต้องการความสำเร็จที่สมบูรณ์แบบ ผุ้ประกอบการที่ดีควรเอาใจใส่ในยละเอียดทุกอย่างในธุรกิจของตน ไม่ควรมุ่งพัฒนาเพียงด้านเดียว ควรมองไปรอบ ๆ หาจุดบกพร่องและแก้ไขให้ดีขึ้น
  10. ตระหนักในคุณค่าของเวลา เวลาเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับทุกอาชีพ การตรงต่อเวลาและใช้เวลาที่มีอยูให้เกิดประโยชน์สูงสุดถือเป็นกำไรชีวิต และกำไรทางธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่ประเมินค่ามิได้

ทฤษฎีระบบ

การเอาแนวความคิดเชิงระบบเข้ามาใช้ในการบริหาร ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจุบันองค์กรการขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นการยากที่พิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์กรได้หมดทุกแง่ทุกมุม นักทฤษฎีบริหการสมัยใหม่จึงหันมาสนใจศึกษาพฤติกรรมขององค์การ เพราะตนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์การ องค์การเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม

ความหมายของทฤษฎีระบบ

ระบในเชิงบริหาร หมายถึง องค์กรประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันและมีส่วนหระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

องค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีระบบ ได้แก่

  1. ปัจจัยการนำเข้า (Input)
  2. กระบวนการ (Process)
  3. ผลผลิต (Output)
  4. ผลกระทบ (Impact)

Input ----> Process ----> Output (Impace/Outcome)

4 M

Man บุคลากร

Method วิธีการ

Meterial วัตถุดิบ

Mechine เครื่องจักร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

โดยทั่วไปหมายถึง การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงคื (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจอันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

แนวคิดที่สำคัญในการจัดการเชิงกลยุทธ์

แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของกรจัดการเชิงกลยุทธ์ คือการกำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานในระยะยาว อีกทั้งยังคำนึงถึงความสำคัญขงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ (Stakeholders) การจัดการเชิงกลยุทธ์ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่าง ๆ ในองค์การให้สามารถบริหารจัดการเพื่อบรลุเป้าหมายขององค์การร่วมกัน

TEAM ประกอบไปด้วย

MAN : มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ มีสัมมาฑิฐฏิ มีประสิทธิภาพ

GOAL : กระชับ ปฏิบัติได้จริง ชัดเจน ตรงประเด็น

RULES : กรอบแนวความคิด กฎระเบียบ การมีส่วนร่วม มีการประชาสัมพันธ์

องค์ประกอบของการจัดการเชิงกลยุทธ์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยพื้นฐาน 5 ประการคือ

  1. การกำหนดทิศทาง (Direction Setting)
  2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
  3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
  4. การดำเนินกลยุทธ์ (Strategy Implementation)
  5. การประเมินผลและกรควบคุม (Evaluation and Control)

  1. การกำหนดทิศทางภารกิจ (Mission)หมายถึง ประกาศหรือข้อความของบริษัทที่พยายามกำหนดว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน กำลังจะทำอะไรในอนาคต และองค์การเป้นองค์การแบใดและจะก้าวไปสู่องค์การแบบใด ทั้งนี้เพื่อบรรลุสู่ความเป็นเลิศเหนือคู่แข่ง เป้าหมาย (Gold) เป้าหมายเป็นการบอกถึงสิ่งที่องค์การปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคตและพยายามบรรลุ โดยมีการกำหนดให้ชัดเจน กระชับ ตรงจุด และสามารถวัดได้ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะมีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นกว่าการกำหนดภารกิจว่าจะต้องทำสิ่งใดที่สามารถปฏิบัติได้จริง
  2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning) ประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและกรประเมินสภาพแวดล้อมภายในโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค โดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคาระห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่ การวิเคาระห์จุดแข็ง (Strength - S) การวิเคาระห์จุดอ่อน (Weakness - W) การวิเคาระห์โอกาส (Oppertunity - O) การวิเคาระห์ภาวะคุกคาม (Threst - T) โดยยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ระดับย่อยอีก คือ 2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองคการ (Internal Analysis) 2.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (Rxternal Analysis) ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมด้านการเมือง 2) สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ 3) สภาพแวดล้อมด้านสังคม 4) สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี
  3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) การกำหนดกลยุทธ์เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรคที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและการวิเคาะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยองค์การจะต้องกำหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์การที่สุด ผู้บรหารต้องพยายามตอบคำถามว่า ทำอย่างไรองค์การจึงจะไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ได้ โดยใช้ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การกำหนดเป็นกลยุทธ์ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ดวย ซึ่งมีทั้ง 3 ระดับคือ กลยุทธ์ระดับองค์การ กลยุทธฺระดับธุรกิ และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ
  4. การดำเนินกลยุทธ์ (Strategy Implementation) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือกระบวนการที่บริหารแบ่งกลยุทธ์และนโยบายไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงบประมาณ หรือวิธีการดำเนินงาน ซึ่งกระบวนนี้อาจจะเกี่ยข้องกับการเปลี่ยนแปลงภายในด้านวัฒนธรรม โครงสร้างหรือระบบการบริหารเพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) ขั้นตอนของการกำหนดแผนและการจัดสรรทรัพยากร 2) ขั้นตอนของการปรับโรงสร้างองค์การ 3) ขั้นตอนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 4) การกระจายกลยุทธ์
  5. การประเมินผลและกรควบคุม (Evaluation and Control) การควบคุมกลยุทธ์เป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องการการปรับหรุง เพื่อให้แน่ใจว่ากลุทธ์นั้นจะก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ตรงตามแผนที่ตั้งไว้ การตวจสอบกลยุทธ์จะมีการวัดผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานโดยมาตรวัดการดำเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การ ซึ่งในแต่ละองค์การจะมีมาตรฐานและเกณฑ์การดำเนินงานของตนเอง ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานควรมีความระมัดระวังเพื่อให้สามารถสะท้อนผลการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรมในการติดตาม ควบคุม และประเมินผลนั้น จำเป็นจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลแผนกลยุทธ์ โดยเฉพาะซึ่งจะต้องมีบุคลากรท่มีความรับผิดชอบเต็มเวลา ที่สามารถทุ่มเทให้กับการติดตามและประเมินผลได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานนี้ควรอยู่กับฝ่ายวางแผนที่มีผู้บริหารในฝ่ายอยู่ในระดับผู้บริหารชั้นสูง อย่างไรก็ตามในการดำเนินกลยุทธ์นั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่ายตลอดเวลา จึงอาจมีความจำเป็นในการตั้งเป็นคณะกรรมการการติดตามและประเมินผลแผนกลยุทธ์ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับบริหารจากฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นร่วมด้วย

หลักการตลาด P-4

  1. Product ก็คือสินค้าหรือบริการที่เราจะเสนอให้กับลูกค้า แนวทางการกำหนดตัว Product ให้เหมาะสมก็ต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร เช่น ต้องการนำผลไม้ที่สะอาด สด ในบรรจุภัณฑ์ ถือสะดวก โดยไม่สนรสชาติ เราก็ต้องทำตามท่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่ว่าเราชอบหวานก็จะพยายามใส่น้ำตาลเข้าไป แต่โดยทั่วไปแนวทางที่จะทำสินค้าให้ขายได้มีอยู่ 2 อย่างคือ 1) สินค้าที่มีความแตกต่างโดยการสร้างความแตกต่างนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้จริงว่าต่างกันและลูกค้าตระหนักและชอบในแนวทางนี้ เช่น คุณสมบัติพิเศษ รูปลักษณ์ การใช้งาน ความปลอดภัย ความคงทน โดยกลุ่มลูกค้าที่เจะจับก็จะเป็นลูกค้าที่ไม่มีการแข่งขันมาก 2) สินค้าทีมีราคาต่ำนั้น คือการยอมลดคุณภาพในบางด้านที่ไม่สำคัญลงไป เช่น สินค้าที่ผลิตจากจีนจะมีคุณภาพไม่ดีนักพอใช้งานได้ แต่ถูกมาก ๆ หรือสินค้าที่เลียนแบบแบรนด์ดัง ๆ ในซุปเปอร์สโตรต่าง ๆ จริง ๆ แล้วสำหรับนักธุรกิจมือใหม่ควรเลือกใรแนวทางสร้างความแตกต่างมากกว่า การเป็นสินค้าราคาถูก เพราะหากเป็นด้านการผลิตแล้วรายใหญ่จะมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่ารายย่อย แต่หากเป็นด้านบริการเราอาจจะเริ่มต้นที่ราคาถูก่อนแล้วค่อย ๆ หาตลาดรายใหญ่ ไม่สนใจ
  2. Price ราคาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญใกรตลาด แต่ไม่ใช่ว่าคิดอะไรไม่ออกก็ลดราคาอย่างเดียว เพราะการลดราคาสินค้า อาจจะไม่ได้ช่วยให้การขายดีขึ้นได้ หากปัญหาอื่น ๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข การตั้งราคาในที่นี้จะเป็นการตั้งราคให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ และกลุ่มเป้าหมายของเราซึ่งจะมีวิธีกำหนดราคาง่ายต่าง ๆ ดังนี้ 1) กำหนดราคาตามลูกค้า คือการกำหนดราคาตามที่เราคิว่าลุกค้าจะเต็มใจจ่าย ซึ่งอาจจะไม่ได้มาจากการทำสำรวจหรือแบบสอบถาม 2) กำหนดาคาตามตลาด คือการกำหนดราคาตามคู่แข่งในตลาด ซึ่งอาจจะต่ำมากจนเรามีกำไรน้อยดังนั้นหากเราคิดที่จะกำหนดราคาตามตลาด เราอาจจะต้องคิดคำนวณย้อนกลับว่าต้นทุนสินค้าควรเป็นเท่าไหร่ เพื่อจะได้กำไรตามที่ตั้งเป้าแล้วมาหาทางลดต้นทุน 3) กำหนดราคาตามต้นทุนบวกกำไร วิธีนี้เป็นการคำนวณว่าต้นทุนอยู่ที่เท่าใดแล้วบวกค่าขนส่ง ค่าแรงของเราบวกกำไร จึงได้มาซึ่งราคา แตหากราคาที่ได้มาสูงมากเราอาจจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์หรือปรับภาพลักษณ์ให้เหมาะกับราคานั้น
  3. Place คือวิธีการนำสินค้าไปสู่มือลูกค้า หากเป็นสินค้าที่จะขายไปหลาย ๆ แห่ง วิธีการขายหรือการกระจายสินค้าจะมีความสำคัญมาก หลักของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่ขายให้มาก สถานที่ที่สุดจะดีเสมอเพราะมันขึ้นอยู่กับว่าสินค้าของท่านคืออะไรและกลุ่มเป้าหมายของท่านคือใคร เช่น ของใข้ในระดับบนควรจำกัดการขายไม่ให้มีมากเกินไป เพาะอาจทำให้เสียภาพลักษณ์ได้ สิ่งที่เราควรจะคำนึงอีกอย่างของวิธีการกระจายสินค้า คือต้นทุนการกระจายสินค้า เช่น การขายสินค้าใน 7-11 อาจจะกระจายได้ทั่วถึง แต่อาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่า หากจะกล่าวถึงธุรกิจที่เป็นการขายหน้าร้าน Place ในที่นี้ก็คือทำเล ซึ่งก็ควรเลือกที่ให้เหมาะสมกับสินค้าของเราเช่นกัน อย่างมาบุญครองกับสยามเซนเตอร์จะมีกลุ่มคนเดินที่ต่างออกไปแลกษณะสินค้าและราคาก็ไม่เหนือกันด้วย ทั้ง ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้กัน ท่านควรขายที่ใดก็ควรพิจารณาตามลักษณะสินค้า
  4. Promotion คือการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบอกลูกค้าถึงลักณะสินค้าของเรา เช่น โฆษณาในสื่อต่าง ๆ หรือการทำกิจกรรมที่ทำให้คนมาซื้อสินค้าของเรา เช่น การทำการลดราคาประจำปี หากจะพูดในธุรกิจขนาดย่อม การโษณาอาจจะเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นเพราะจะต้องใช้เงินจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับช่องทางที่เราจะใช้ที่จะดีและอาจจะฟรีคือ สื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผู้ใช้เพิ่มจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี สื่ออื่น ๆ ที่ถูก ๆ ก็จะเป็นพวกใบปลิว โปสเตอร์ หากเป็นสื่อท้องถิ่นก็จะมีรถแห่ วิทยุท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิธีในการเลือกสื่อนอกจากจะดูเรื่องค่าใช้จ่ายแล้วควรมองเร่องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น หากจะโฆษณาให้กลุ่มผู้ใหญ่โดยเลือกสื่ออินเตอร์เน็ต (เพราะฟรี) ก็อาจจะเลือกเว็บไซต์ที่ผู้ใหญ่เล่น ไม่ใช่เว็บท่วัยรุ่นเข้ามาคุยกัน เป็นต้น

"ถ้าอยากจะเป็นผู้ชนะคุณต้องสู้ต่อไป

แล้ววันหนึ่งความสำเร็จความสำเร็จ

จะเป็นของคุณอย่างแน่นอน"