2551-08-25

เทคนิคการป้องกันภัยคุกคามของการสมัครงานในยุคปัจจุบัน

ภัยจากการสมัครงาน


กรณีศึกษาที่ 1

นี่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเราเอง เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2547 ที่ผ่านมา เราได้ส่งจดหมายไปที่บริษัท POWER SUCCESS INTERNATIONAL CO.,LTD ที่ได้มาจากอินเตอร์เน็ต อยู่ตรง ซอยติวานนท์ 25 อาคารบิวดิ้ง ติดถนนใหญ่ จ.นนทบุรี ตำแหน่งพนักงานประสานงาน พอเข้าไปในบริษัทก็มีคนพลุกพล่านเต็มไปหมด ใส่สูทหรูดีมาก พอสักพักก็ได้เข้าไปสัมภาษณ์ในห้อง แล้วเคาก็บอกว่าน้องต้องจ่ายเงินค่าลงคอร์สสมัครสมาชิกแล้วจะได้เครื่องสำอางไปใช้ แล้วก็จะมีทีมเกิดขึ้นน้องไม่ต้องทำอะไรให้ลูกทีมทำก็จะได้เงินประมาณ 2,900 5,999 7,999 มีประมาณ 3 คอร์ส เค้าก็ถามว่าตอนนี้น้องมีเงินเท่าไรห่ เราก็บอกว่ามี 200 บาท เค้าก็ถามเราว่ามีทองไหม มีบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเครดิตหรือเปล่า เราก็บอกว่ามีอยู่บ้าน เค้าก็บอกว่าจะให้คนขับรถขับรถไปให้เอาเอทีเอ็มมากดเงินให้เค้า มีผุ้ชายเป็นคนขับและมีผู้หญิงนั่งประกบเราไปอีก 1 คน แต่โชคดีที่เราให้เค้าจอดตรงตลาดแล้วเราก็วิ่งหนีลงจากรถไปแจ้งตำรวจ ตำรวจบอกว่าบริษัทนี้มีคนมาแจ้งความตั้งหลายรอบแล้ว เราอยากจะเตือนทุคนที่อ่านกระทู้นี้ให้ระวัง เพราะว่าคุณอาจจะไม่มีสิทธิ์ได้ออกมาจากบริษัทนี้ง่าย ๆ ถ้าคุณไม่จ่ายเงินให้เค้า และทุกวันนี้บริษัทนี้ก็ยังเปิดหลอกลวงคนอื่นอยู่ เพราะฉะนั้นช่วยบอกต่อเพื่อนทุกคนที่คิดจะไปสมัครด้วย อาจจะไม่โชคดีเหมือนเรา


กรณีศึกษาที่ 2

เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เมื่อตอนที่เราเรียนจบใหม่ ๆ และกำลังอยากหางานทำ ก็ได้เข้าไปสมัครในอินเตอร์เน็ต เข้าไปสมัครอยู่หลสยเว็บเหมือนกัน สมัครหลายบริษัทด้วย และเราก็ส่ง RESUME ไปหลายที่มาก และในวันเดียวกันประมาณช่วงบ่าย 3 ก็มีบริษัทหนึ่งโทรมานัดเราให้ไปสัมภาษณ์งานในวันพรุ่งนี้ เราดีใจมาก สอบถามสถานที่ นัดเวลาเรียบร้อย พอเช้าเราก็เดินทางไป จำได้ว่าบริษัทนี้ชื่อเวิร์ล อะไรสักอย่างจำไม่ได้ เราก็ไปถึงบริษัท อยู่ในซอยราชวิถีเท่าไหร่จำไม่ได้แล้ว แต่อยู่ข้าง ๆ ซอยอารีย์ และในซอยจะมีตึกใหญ่ ๆ ของกรมสรรพากรอยู่สุดซอยเลย เราขับรถไปกับเพื่อนสองคน พอไปถึงก็เจอบริษัทซึ่งเป็นตึกแถวห้องเดียว และมีคนอยู่ในนั้นเยอะมาก ดูวุ่นวายด้วย เพื่อนเราที่ชวนมาสมัครด้วยมันเห็นแล้วสภาพไม่น่าสนใจมันก็เลยไม่ยอมสมัคร แล้วมันก็ไปนั่งอยุ่ในรถ ส่วนเราก็มีคนเอาใบสมัครมาให้กรอกแล้วก็เข้ามาสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่จะคุยเรื่องส่วนตัวเรามากกว่าไม่ค่อยสนใจเรื่องการศึกษาเท่าไหร่ จะถามว่าพ่อแม่ทำงานอะไร ใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ และวันนี้มีเงินมาเท่าไหร่ เราก็ซื่อบอกเค้าว่ามีมา 2 พันกว่าบาท และถามว่ามีบัตรอะไรบ้าง เราก็บอกมีบัตรเอทีเอม 2 ใบ แล้วถามต่อว่าในบัตรมีเงินเท่าไหร่ เราก็เริ่มรู้สึกว่าเค้มาวุ่นวายกับเรามากไปแล้วนะ เราก็เลยไม่กล้าบอกเค้า แล้วยังจะขอดูกระเป๋าสะพายของเราด้วยว่าเอาอะไรมาบ้าง เหมือนว่าจะพยายามรื้อดูซะทุกอย่าง เราก็บอกว่าไม่มีอะไรมาหรอกมีแต่เครื่องสำอาง แล้วเค้าก็เดินออกไป บอกให้เรารอก่อนเดี๋ยวจะเรียกผุ้จัดการมาสัมภาษณ์ เราก็คิดในใจว่านี่ยังไม่เสร็จอีกหรอชั่วโมงกว่าแล้วนะเนี่ย สักพักก็มีผู้ชายคนหนึ่งเดินเข้ามาท่าทางเกย์ ๆ หน่อย ใส่สร้อยทองน่าจะประมาณ 10 บาทเส้นใหญ่มาก ๆ ใส่แหวนเพชรเกือบทุกนิ้วและเพชรเม็ดใหญ่แบบโอเว่อร์ เค้าก็เข้ามาคุยกับเราว่าอยากทำงานที่นี่ไหม เราก็ถามว่าให้ทำใตแหน่งอะไรหรอ เค้าบอกว่าเราน่าตาน่ารัก พูดเพราะ จะให้เป็นประชาสัมพันธ์ แต่ไม่ได้ให้อยู่ที่นี่นะ ให้ไปอยู่ประจำที่โรงเรียนสอนภาษาแห่งหนึ่ง เราก็หรอ แต่ในใจเริ่มรู้สึกไม่ค่อยดีละ เราก็ยังทำเป็นถามอีกนะว่าแล้วต้องทำไงบ้าง เค้าบอกว่าต้องเสียค่าสมัครนะนละ 17,000 บาท เราก็งงว่าทำไมต้องเสียนะเรามาของานเค้าทำนะ เค้าก็บอกว่าไม่เสียฟรีนะท่สมัครเนี่ยสามารถเอาไปเลือกลงเรียนแต่ละคอร์สที่เค้าเปิดสอนได้นะ เราก็งงอีกว่าตกลงบริษัทนี้มันทำอะไรกันแน่ สรุปก็คือเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเยอะมากทั้งคอมพิวเตอร์ ทำอาหาร ภาษา ... แต่เราก็ไม่รู้จักชื่อโรงเรียนนี้เลย ใครจะกล้าสมัครเรียนและได้วุฒิอะไรรึเปล่าก็ไม่รู้ เราก็เริ่มตัดบทแล้วว่าจะกลับไปบ้านไปคุยกับแม่ก่อนนะ และวันนี้เราก็สมัครไม่ได้ด้วยเพราะเราไม่มีเงิน แล้วเค้าก็บอกว่าวันนี้มีมาเท่าไหร่ก็เอามาสมัครไว้ก่อน มัดจำไว้นะ แต่พอดีคนที่สัมภาษณ์คนแรกมันรู้แล้วว่าเรามีเงินมา 2,000 ให้เอาตรงนี้มาจ่ายก่อน เราเลยโกหกไปว่าจะต้องเอาไปจ่ายค่าโทรศัพท์ตั้ง 2,000 ไม่งั้นพรุ่งนี้โดนตัดแน่ ๆ เค้าก็บอกว่าพันหนึ่งก็ได้ เราก็ไม่ยอม 500 ก็ได้ เราก็ไม่ยอมอีก จนสุดท้ายเค้าก็ถามว่าน้องไม่อยากได้งานทำหรอ เราก็บอกว่าอยากนะแต่ถ้าได้งานแล้วเราเดือดร้อน เพราะดทรศัพท์ต้องโดนตัดเราไม่ทำดีกว่า เค้าก็เลยบอกว่างั้นถอดสร้อยข้อมือออกมาเดี๋ยวจะเอาไปตึ๊งให้ เราก็... ต้องทำขนาดนี้เลยหรอ สุดท้ายวันนี้มันต้องเอาอะไรจากเราให้ได้สักอย่าง เราก็ไม่ยอมอยู่ดี ตอนนี้มีคนมารุมสัมภาษณ์เรา 4 คนแล้วเราก็ไม่ยอม ใจเราคิดแต่ว่าจะยุติเรื่องวันนี้ยังไงดีเพื่อที่จะได้ออกไปแล้วไม่เป็นอันตรายกับเราด้วย พอดีเพื่อนเราโทรเข้ามาเราก็รีบรับโทรศัพท์ทันทีแล้วบอกว่าจะออกไปเดี๋ยวนี้แหละ เราก็ลุกขึ้นจะกลับแล้วเพราะมีธุระ เค้าก็ถามว่าตกลงน้องจะทำงานไหม ถ้าทำก็จ่ายเงินมา เราก็พูดให้ความหวังมันไปว่า พี่เรื่องเงินนะเรื่องเล็กถ้าหนูจะทำนะ พรุ่งนี้ขอเงินแม่มาสมัครได้เลย เค้าก็เริ่มยิ้มกันได้ เดินลงมาส่งเราถึงรถเลยละ พอออกมาได้เราก็แทบอยากจะกรี๊ด นี่หรอการสัมภาษณ์งานครั้งแรกในชีวิตของเรา รู้สึกแย่มาก เสียความรู้สึกอย่างแรงด้วย ดีนะที่เราไม่ได้เสียอะไรไป ขอให้คนพวกนี้หมดไปจากสังคมซะทีเถอะ ...



การป้องกันภัยการสมัครงาน

สมัยนี้หางานทำได้ยากเหลือเกินไม่เหมือนเมื่อก่อน เมื่อมีข่าวเปิดรับสมัครงานเมื่อไร โดยเฉพาะงานราชการก็มักจะมีคนแห่ไปสมัครนับพันนับหมื่นคน บางรายก็ได้งาน บางรายที่ผิดหวังก็ต้องหาสมัครงานใหม่ต่อไป แต่ยังดีที่มีช่องทางหางานได้มากขึ้น เช่น หางานตามหนังสือสมัครงาน Internet ตามแคมปัสของมหาวิทยาลัยที่จัดให้นักศึกษากรอกประวัติส่วนตัวทิ้งไว้ให้นายจ้างมาคัดเลือก ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานของรัฐที่เปิดให้มีการจัดหางานให้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีเครือข่ายอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย และยังมีจัดหางานเอกชนที่สามารถเปิดให้บริการจัดหางานให้กับคนหางานทำในประเทศ แต่ต้องขออนุญาตกับกรรมการจัดหางานก่อน

หากสงสัยว่าจัดหางานเอกชนดังกล่าวเปิดบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาตสามารถแจ้งเบาะแสข้อมูลได้ที่ศูนย์ประสานการปราบปรามผู้เป็นภัยต่อคนหางาน โทร. 0-2245-6763 หรือสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางาน


การเตรียมตัวหางาน

ควรจะต้องเริ่มต้นกันก่อนที่จะจบกรศึกษา คือควรจะแวะไปดูตู้หรือป้ายประกาศของสถานศึกษาที่เรียนอยู่ว่ามีบริษัท ห้างร้านใดต้องการรับสมัครพนักงานบ้าง เพราะบริษัทห้างร้านต่าง ๆ มักจะชอบส่งหนังสือแสดงความจำนงว่า จะรับสมัครพนักงานในตำแหน่งอะไรบ้างไปตามมหาวิทยาลัยเสมอ เพราะเป็นการประหยัดค่าโฆษณาหาคนในหนังสือพิมพ์ บางแห่งก็อยากได้คนจบใหม่ ๆ เลย นอกจากนี้ควรจะสอบถามไปยังเพื่อนรุ่นพี่หรือคนรู้จักกันว่า มีท่ไหนกำลังเปิดรับสมัคร แต่ทั้งน้ทั้งนั้นก็ไม่ควรจะต้องสนอกสนใจถึงกับไม่มีเวลาดูหนังสือสอบ

นอกจากจะมองหาแหล่งสำหรับสมัครงานแล้ว ในระหว่างนั้นก็น่าจะเตรียมตัวให้พร้อ เช่น เลือกเสื้อผ้าที่คิดว่าดีและเหมาะสมที่สุด ควรจะมีสัก 2 ชุด เพื่อใส่ไปสมัครงานหรือรับการสัมภาษณ์ เตรียมรูปถ่าย จัดเตรียมเอกสารท่จำเป็นต้องใช้ โดยเตรียมไว้เป็นชุด ๆ อย่างน้อยก็ควรจะเตรียมไว้ไม่น้อยกว่า 3-4 ชุด เตรียมกระดาษจดหมาย ซองจดหายและซองใส่เอกสาร ขณะเดียวกันควรกำหนดไว้ว่า จะไปพบใครหรือโททรศัพท์สอบถามเรื่องการสมัครงานจากใครที่ไหน พูดกันง่าย ๆ คือเตรียมใจ เตรียมกาย และเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม เพราะคุณกำลังจะออกไปต่อสู้กับคนอื่น ๆ ซึ่งทุกคนก๋กำลังมองหางานเช่นเดียวกัน


การหาแหล่งงาน

การหาข้อมูลตำแหน่งงาน สถานที่สมัครบุคคลเข้าทำงาน ผู้สมัครสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  1. หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งมีผู้อ่านจำนวมาก จะมีประกาศรับสมัครงาน ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  2. สำนักงาน กพ. สำหรับผุ้ต้องการทราบข่าวการสอบเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ

  3. หน่วยบริการจัดหางานของมหาวิทยาลัย หน่วยบริการจัดหางาน กองกิจการนักศึกษา เป็นแหล่งข้อมุลการรับสมัครงานทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน

  4. กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม บริษัทเอกชนหลายแห่งนิยมแจ้งข่าวการรับสมัครงานไปยังกรมการจัดหางาน ผู้สมัครควรไปซื้อไว้ที่สำนักงานเขตใกล้บ้าน เผื่อการเรียกตัวเข้าทำงาน

  5. ญาติพี่น้อง อาจารย์ บัณฑิตรุ่นพี่ หรือคนรู้จัก โดยเฉพาะผู้ที่ปัจจุบันทำอยู่กับบริษัทก็อาจให้คำแนะนำได้

  6. สมัครโดยตรงกับบริษัท ปัจจุบันหลายบริษัทเปิดรับสมัครงานตลอดปี ผ้สมัครสอบถามรายละเอียดได้

เทคนิคการสมัครงาน

  • แหล่งข้อมูลในการสมัครงาน

- ศูนย์จัดหางาน (E-job center) ของกรมการจัดหางาน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณกระทรวงแรงงาน

- สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ เขตพื้นที่ 1-10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด

- หนังสือสมัครงาน

- โฆษณาตามหนังสือพิมพ์/ วิทยุ/ โทรทัศน์

- ป้ายรับสมัครงานของสถานประกอบการ

- ทาง Internet

- สอบถามจากคนใกล้ชิด เช่น ญาติ เพื่อน คนรู้จัก


  • การสมัครงาน

ส่วนประกอบของประวัติย่อ

- ที่อยู่ปัจจุบัน ควรระบุให้ชัดเจนเพื่อให้บริษัทสามารถติดต่อเราได้โดยตรง

- ข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด น้ำหนัก ฯลฯ

- ประสบการณ์ในการทำงาน เอาเฉพาะที่สำคัญ หรือที่เกี่ยวข้องกับที่สมัครงาน

- การศึกษา เรียงตามวุฒิการศึกษาต่ำสุดไปสูงสุด อย่างน้อยควรเขียน 2 ระดับ

- ความสามารถพิเศษ เขียนเฉพาะที่มีประโยชน์ต่อการสมัครงาน เช่น สามารถพิมพ์ดีดได้ดี

- การฝึกอบรมสัมมนา เขียนรายละเอียดให้ชัดเจน ที่ไหน เรื่องอะไร ฯ


  • การสัมภาษณ์งาน
  1. ต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
  2. แต่งกายสุภาพ
  3. ตรงต่อเวลานัดหมาย (ควรถึงก่อน 10 -15 นาที)
  4. เตรียมข้อมูลให้พร้อม

ข้อควรปฏิบัติขณะรับการสัมภาษณ์

- นั่งรออย่างเรียบร้อย ไม่เดินไปเดินมา ไม่ส่งเสียงดัง

- ควรยิ้มให้ผู้สัมภาษณ์ขณะเริ่มทักทาย

- พูดจาสุภาพ ชัดเจนเป็นธรรมชาติ มีความมั่นใจในตนเอง

- ตั้งใจฟังคำถามและตอบคำถามให้ตรงประเด็น จำข้อมูลให้แม่น

- เมื่อถูกตั้งคำถามที่อาจมีลักษณะยั่วยุ ต้องควบคุมอารมณ์ให้ดี อย่าแสดงอารมณ์โกรธให้ปรากฏ

- ถ้าผู้สัมภาษณ์เปิดโอกาสให้ถาม ควรถามเกี่ยวกับลักษณะงาน

- ขณะสัมภาษณ์ควรมองหน้าผู้สัมภาษณ์

- ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง

- ไม่ควรนัดสัมภาษณ์วันละหลาย ๆ แห่ง

- ไม่ควรนำพ่อแม่ หรือเพื่อนไปสัมภาษณ์ด้วย

- ไม่แสดงอาการประหม่า มือเท้าสั่น

- ไม่ควรแย่งพูดขณะตั้งคำถาม และไม่พูดในสิ่งที่ไม่เป็นจริง

คำถามที่อาจจะถูกถามในการสัมภาษณ์งาน

- คำถามเกี่ยวกับชีวิต ครอบครัว เช่น ให้เราเล่าประวัติแบบย่อ

- คำถามเกี่ยวกับการเรียนและกิจกรรม เช่น คุณเคยทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง

- เคยทำงานอะไรมาแล้ว และทำไมจึงอยากมาทำที่นี่ (ควรตอบในเชิงบวก)

- ทำไมจึงออกจากที่ทำงานที่เคยทำอยู่ (ควรตอบในเชิงบวก)

หลักเกณฑ์ในการเลือกที่ทำงาน

เมื่อได้รายชื่อบริษัทธุรกิจที่ผู้สมัครสนใจจะไปสมัครเข้าทำงานจากแหล่งต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ถ้าหากไม่รีบร้อนเกินไปก็น่าจะมีการศึกษาหารายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทเหล่านั้นบ้างเล็กน้อย อย่างน้อยก็เพื่อป้องกันความผิดหวังการหารายละเอียดนี้ก็เพื่อดูความั่นคงของกิจการ และดว่าดวงของผู้สมัครจะสงพงษ์กับบริษัทนั้น ๆ เพียงไร มีวิธีดูหลายประการดังต่อไปนี้

  1. ทุนดำเนินการและกิจการทั่วไป แน่นอนที่สุดที่ผู้สมัครคงไม่สามารถทราบฐานะทางการเงินของบริษัทธุรกิจได้ ยกเว้นธนาคารบางแห่งที่มีการเผยแพร่ผลกำไรขาดทุนและแสดงฐานะของกิจการในรายงานประจำปี แต่อย่างน้อยก็เชื่อว่าผู้สมัครพอจะมีทางทราบฐานะของบริษัทจากกิจการทั่วไป เช่น ทางด้านการตลาด การผลิต และการให้บริการจและสวัสดิการแก่พนักงาน เป็นต้น บริษัทหลายแห่งทีมั่นคงจะมีตึกสำนักงานของตนเอง และมีการให้บริการแก่สังคมสูง เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
  2. ที่ตั้ง วิธีการนี้ก็เพื่อความสะดวกของผู้สมัครในการเดินทางไปและกลับจากที่ทำงาน เพราะถ้าบริษัทอยู่ห่างไกลจากที่อยู่อาศัยมากก็จะลำบากมาก ยิ่งถ้าไปทำงานสายบ่อย ๆ ก็อาจจะถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิได้ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางอาจสูงกว่าที่ทำงานใกล้บ้านก็ได้ อีกทั้งประหยัดเวลาในการเดินทางได้อีกด้วย
  3. รายได้ หมายถึงเงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยง เงินล่วงหน้า (ถ้ามี) โบนัสประจำปี และสวัสดิการต่าง ๆ ที่บริษัทให้ บางบริษัทอาจให้เงินเดือนสูงแต่ทำงานมากชั่วโมงกว่า หรือบางบิษัทเงินเดือนต่ำกว่าก็จริง แต่ออกเงินค่าภาแถมมีโบนัสให้ด้วย เรื่องรายได้นี้นับว่าผุ้สมัครจะต้องพิจารณาให้ดี อาจจะสอบถามคนที่ทำงานอยู่แล้ว หรือไม่กสอบถามจากกรรมการเมื่อสอบสัมภาษณ์ก็ได้
  4. บรรยากาศการทำงาน ผู้สมัครควรสืบทราบเรื่องบรรยากาศในการทำงานของบริษัทธุรกิจนั้น ๆ ว่ามีการทำงานกันอย่างมีความสุข เป็นระเบียบเรียบร้อย มีวินัยอันดีพอสมควรหรือไม่ หรือมีการต่อสู้แย่งชิงตำแหน่ง และปัดแข้งปัดขากัน มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันอย่างไร เพื่อจะได้ประกอบการตัดสินใจให้ถูกต้อง และเพื่อความสบายใจในการทำงาด้วย บางบริษัทแม้จะเล็กแต่ก็อบอุ่น มีการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเหมือนพี่กับน้อง มีการสอนพนักงานใหม่ให้คุ้นกับบบริทและเพื่อนร่วมงานอย่างรวดเร็ว ทำให้สบายใจกว่าอยู่บริษัทใหญ่ ๆ แต่มีการจ้องจับผิดหรือป้ายความผิดกันตลอดเวลา
  5. สภาพการทำงาน เรื่องสภาพการทำงานก็เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาไม่น้อย เพระจะเป็นประโยชน์สำคัญในการทำงานอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใดในอนาคต บางบริษัทที่ก้าวหน้านสมัยจะมีอุปกรณือำนวยความสะดวกในการทำงานในแทบทุกอย่าง นับตั้งแต่ มีที่จอดรถของพนักงาน ลิฟต์ เครื่องปรับอากาศ โต๊ะ และม้านั่ง เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องเขียนและอุปกรณ์ เป็นต้น และเป็นการแน่นอนที่สุดว่าในบริษัทที่มีสภาพการทำงานที่ดีกว่า ผลงานของพนักงานก๋ย่อมจะดีกว่า และขวัญกำลังใจของพนักงานก็ย่อมจะสูงกว่าอย่างไม่น่าสงสัย
  6. โอกาสก้าวหน้า ข้อนี้เป็นสิ่งท่ควรแกรพิจารณาอย่างยิ่ง แต่ส่วนมากผู้สมัครงานมักไม่สนใจเท่ารายได้ที่จะได้รับ ผู้สมัครควรจะดูว่าบริษัทธุรกิจนั้น ๆ ให้โอกาสแก่พนักงานในการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งอาชีพและเงินเดือน บางบริษัทจะสนับสนุนพนักงานอย่างเต็มที่ในการเข้ารับการฝึกอบรมสัมมนาดูงานและฝึกงานทั้งในและนอกประเทศ บางบริษัทยินดีให้พนักงานร่วมกิจกรมของสังคมที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานมีโอกาสพัฒนาตนเองทั้งสิ้น
  7. วัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน หมายความว่า ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของบริษัทควรจะสอดคล้องกับปรัชญาในการประกอบอาชีพผู้สมัครด้วย ทั้งนี้เพื่อจะทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข
  8. ลักษณะงาน คนบางคนสามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะทำได้ดีหมดทุกอย่าง มนุษย์เรามีความถนัดในบางเรื่อง และความถนัดนี้ก็น่าจะได้มีโอกาสนำมใช้งานให้เหมาะสมและถูกต้อง ดังเช่นภาษิตของงานบริหารงานบุคคลที่ว่า " จงบรรจุคนที่เหมาะสมที่สุดในงานที่เหมาะสมที่สุด" หรือ PUT THE RIGHT MAN INTO THE RIGHTJOB ดังนั้น ลักษณะงานจึงจำเป็นต้องจะทำให้เกิดความพอใจในงานด้วย เพื่อจะได้ทำงานด้วยความรักและเพื่อความมีประสิทธิภาพขององค์กร

ขั้นตอน-กระบวนการในการสมัครงาน

หลังจากที่ทราบถึงแหล่งงาน สามารถจำแนกทักษะความชำนาญความพอใจของตนเอง รวมทั้งงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของตนเอง และก็ถึงเวลาออกไปสมัครงาน ซึ่งปกติกรสมัครงานจะมีขั้นตอน-กระบวนการ ดังนี้

  1. การเตรียมตัวก่อนการสมัคร
  2. การกรอกใบสมัคร
  3. การเขียประวัติย่อ (RESUME)
  4. การเขียนจดหมายสมัครงาน
  5. การสอบข้อเขียนหรือการทดสอบความสามารถ
  6. การสัมภาษณ์
  7. การติดตามผล

** โปรดจำไว้เสมอว่าจดหมายแนะนำต้องส่งควบคู่กับ RESUME ทุกครั้ง **


















2551-08-24

เทคโนโลยีการบริหารจัดการงานโรงแรมยุคใหม่

คอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรมโรงแรมและท่องเที่ยว

ท่องเที่ยว : โรงแรม, ร้านอาหาร, โรงพยาบาล, ร้านขายของที่ระลึก ฯลฯ

ระบบคอม :

  1. Hardware : สิ่งที่จับต้องได้ (เปลี่ยน ประกอบ)
  2. Software : โปรแกรมหรือชุดคำสั่งระหว่าง User กับ Hardware
  3. Peopleware : บุคลากร
  4. Data : ข้อมูล มี 2 ชนิด (1) Data ข้อมูลดิบ (2) Information ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการแล้ว
  5. Process : กระบวนการทำงาน

Intro

Hospitality (อุตสาหกรรมที่ให้บริการด้วยความเต็มใจ)

  • Hotel - โรงแรม

  • Tourism - ท่องเที่ยว

  • Etc. - อื่น ๆ เช่น ร้านอาหาร ธนาคาร ปั๊มน้ำมัน บริษัทรถเช่า โรงพยาบาล

Introduction

Hotel background :

- Product (สิ่งที่โรงแรมขาย)

  • Room Inventory : ห้องที่มีอยู่ในโรงแรมทั้งหมด

  • Food and Beverage : อาหาร เครื่องดื่ม

  • Event/ Conference/ Catering/ Banquet : งาน-เหตุการณ์ต่าง ๆ/ การจัดเลี้ยงด้านนอก/ ประชุมนานาชาติ

  • Leisure Activities : กิจกรรมยามว่าง

Process (กระบวนการ)

  • Reservation/ Walk-in : การวางแผนท่จะไปพัก โทรไปจองห้องให้ทางโรงแรมหาห้องไว้ให้/ การเดินเข้าไปพัก

  • In-house guest : แขกที่เข้าพักอยู่ มีการกรอกประวัติ (ข้อมูล)

  • Billing : การจับจ่ายใช้สอยสินค้า, บริการ (ค่าห้อง, ภาษี, อื่น ๆ)

  • Check out : ออก

Reservation (กระบวนการจอง)

  • Individual reservation : จองเป็นรายบุคคล จำนวนไม่มาก ข้อมูลที่กรอกมี ชื่อ-สกุล หมายเลขบัตร วันเดือนปี เข้าออก ฯลฯ

  • Group reservation : จองเป็นคณะจำนวน 15 คนขึ้นไป (15+1 = เข้าพัก 15 คนฟรี 1 ห้อง สำหรับไกด์)

In-house guest

  • Posting : กระบวนการบันทึกข้อมูล

  • Billing : แบบฟอร์ม Guest forio (ใบเสร็จ) จะมีอยู่จนกระทั่ง Check Out

  • Update room status : สถานะห้อง (มาตรฐาน)
  1. Vacant ว่าง, ห้องว่าง
  2. Occupied ห้องไม่ว่าง
  3. Out Of Order ห้องชำรุด (อุปกรณ์ภายในห้องเสียหาย)
  4. Out Of Service งดให้บริการ (ห้องดีแต่ใช้ไม่ได้ มีผลในการลดค่าใช้จ่าย ช่วยลดพลังาน)

Billing

  • Master Bill : บิลหลัก (ห้องพัก Service Chart ที่เบิกได้สำหรับราชการ) มีค่าอาหาร Minibar ฯลฯ

  • Extra Bill : บิลแยกจาก Master Bill

  • Voucher/ City ledger : เอกสารแทนเงินสด/ใบเรียกเก็บเงิน (ลูกหนี้)

Computer in Hospitality

  • PMS (Property Management System)

- เป็นระบบสำหรับในโรงแรม คือการนำระบบคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, พีเพิลแวร์, ข้อมูล, กระบวนการ) มาใช้ให้เกิดประโยชน์

  • GDS (Global Distribution System)

- ระบบจองตั๋วบินขนาดใหญ่

  • CRS (Central Reservation System)

- ระบบการจองผ่านศูนย์กลาง (Website)

  • EPOS (Electronic Point of Sale)

- ระบบเช็คบาร์โค้ด

  • Call Accounting

- รายการใช้โทรศัพท์

  • Electronic Door Locking

- ระบบคีย์การ์ด ใช้เปิดประตู ช่วยประหยัดพลังงาน, มีความปลอดภัย

PMS (Property Management System)

ทำงานเป็น Modul (โมดูล) เป็นชุดโปรแกรมย่อย ทำงานเฉพาะด้าน

  • Reservation การจอง
  • Room rate อัตราค่าห้อง
  • Profile
  • Front Desk แผนกต้อนรับส่วนหน้า (เกี่วข้องกับแขก)
  • Back Office Interface ระบบบริหารงานส่วนหลัง
  • Rooms Management ห้องงาน เช่น ห้องของพนักงานบัญช (ไม่เกี่ยวข้องกับแขก)
  • Cashiering การบันทึกค่าใช้จ่าย
  • Account Receivable การจัดการเกี่ยวกับลูกหนี้
  • Commission
  • Reporting
  • Full configurable
  • Global Perspective
  • Hospitality System Interface

GDS (Global Distribution System)

  • 3 systems in Thailand
  1. Amedeus การบินไทยใช้เยอะที่สุด
  2. Abacus พันธมิตรมาจากยุโรป สิงคโปร์แอร์ไลน์
  3. Galileo แอร์เอเซีย
  • Reservation
  1. Airline seat ที่นั่งการบิน
  2. Booking room การจองห้องพัก
  3. Booking car rent การจองรถเช่า
  4. Booking train (in Europe) กาจองรถไฟ
  5. Booking restaurant

Example command

Amadeus command

  • An20augcnxlax/atg/cf
  • ss1f1 (Sale Segment line1 จำนวน 1 คน)
  • Nm1bunsiri/thosaphon mr
  • Ap cnx 0815339910
  • Tktl18aug
  • Rf jim
  • er

Report and Statistic

  • Occupancy Rate
  • Expected Arrival List
  • No show rate
  • Cancellation rate
  • Understay/ Overstay
  • 7 days forecast report

ข้อมูลสารสนเทศ

TPS : การประมวลผลทีละรายการ ลักษณะเป็นข้อมูลเดิม ๆ ซ้ำ ๆ

MIS : การนำข้อมลมาสรุป/ การดึงข้อมูล

DSS : ระบบเพื่อการตัดสินใจทั้งภายใน-นอก องค์กร

EIS : ข้อมูลการตัดสินใจของผู้บริหาร

ES : ระบบผู้เชี่ยวชาญ








2551-08-12

ปฏิวัติการสื่อสารไทยด้วยเทคโนโลยี HSPA (High Speed Packet Access)

ความเป็นมาของ HSPA

ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 และเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้ทำการยกระดับ (Upgrade) โครงข่ายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สามารถใช้งานข้อมูลที่แปรผันตามอัตราความเร็วข้อมูลได้ ดังนั้นเราต้องการอุปกรณ์เคลื่อนที่ ซึ่ง HSPA ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งโดยส่วนแล้วเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาระดับสูงได้ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ไว้เป็นมาตรฐานแล้ว

HSPA มีความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่เนื่องจากกลุ่มของเทคโนโลยีระบบ GSM ซึ่งได้ให้กำเนิดการติดต่อสื่อสารเคลื่อนที่ของประชากรโลกที่อยู่ในโลกที่สาม HSPA เป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่สามารถเลือกกรทำงานได้แม้กระทั่งอัตราความเร็วข้อมูลที่มีอัตราความเร็วข้อมูลสูง สำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันนี้สามถใช้งานได้ ซึ่งวิวัฒนาการนี้จะเห็นได้จากตระกูลที่พวกเราคุ้นเคย เช่น เทคโนโลยี GPRS (เป็นเทคโนโลยีแบบแพ็คเก็จตัวแรกที่มีอัตราความเร็วข้อมูล 128 Kbps) เทคโนโลยี EDGE (เป็นเทคโนโลยีที่ได้เพิ่มอัตราความเร็วข้อมูลสูงขึ้นประมาณ 240 Kbps) และจึงเข้าไปสู่เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ที่กำลังเพิ่มอัตราความเร็วข้อมูลเป็น 384 Kbps

HSPA เป็นคำทั่ว ๆ ไป เพื่อรวบรวมคำย่อทั้งหมดสำหรับ HSDPA และ HSUPA และ HSPA Evolve (HSPA+) ในปัจจุบันเทคโนโลยีบรอดแบรนด์เคลื่อนที่ (Mobile Broadband Technology) ได้ถูกเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางทั่วโลกด้วยจำนวนอุปกรณ์ที่แสดงมีจำนวนมากมายไม่เพียงแต่จำนวนในเชิงปริมาณ แต่ความหลากหลายของอุปกรณ์ท่แสดงให้เห็น ซึ่งประชาชนมีเส้นทางที่แตกต่างกันในการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่มีการเคลื่อนที่

โครงข่ายทั้งหลายที่ได้ถูกนำมาใช้งานโดยหลักอยูที่สเปกตรัมย่านความถี่ 1900 MHz และ 2100 MHz กับการดำเนินงานเพียงไม่กี่รายที่ได้ใช้ประโยชน์จากสเปกตรัมย่านความถี่ 850 MHz และศักยภาพในการ Refarming และการจัดสรค์สเปกตรัมย่านความถี่ UHF ซึ่งจำนวนของผู้ให้บริการรายอื่น ๆ จะนำสเปกตรัมย่านความถี่นี้ใช้งานเพื่อช่วยให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการ (Converage Area) เมื่อ HSPA เริ่มเปิดให้บริการ

HSPA เป็นสิ่งที่เหนือกว่าด้วยการยกระดับซอฟต์แวร์ที่อยู่บน Rel. 99 ของมาตรฐาน UMTS การยกระดับนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดปัจจัยแฝงของการเชื่อมโยง (Link) และได้รับโดย คือ การใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับจำนวนเทคนิคต่าง ๆ คือ
  • Adaptive Modulation and Coding ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่ใน NODE B (สถานี Base Station) จะทำการวิเคราะห์ผู้ใช้งานแต่ละคนที่อยู่บนเซลล์ (Cell) ในเรื่องคุณภาพของสัญญาณและกรใช้งานของข้อมูลและความจุของเซลล์ ณ เวลาที่ทำการตรวจสอบที่ใช้รูปแบบการมอดูเลชั่นสัญญาณเพื่อติดต่อกับอุปกรณืแต่ละตัว ดังนั้นคุณภาพของสัญญาณที่ดีและเซลล์รับภาระโหลดน้อย Node B จะกำหนดให้ใช้เทคนิคการมอดูเลชั่นแบบ 16QAM เพื่อเลือกค่าอัตราความเร็วข้อมูลท่มีค่ายอดสูงถึง 3.6 Mbps และลดค่าลงไปสู่การใช้เทคนิคการมอดูเลชั่นแบบ QPSK ที่เกี่ยวเนื่องอัตราความเร็วข้อมูลต่ำ ถ้าเงื่อนไขกลสยเป็นที่ไม่ได้รับความนิยม
  • Fast Packet Scheduling ขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ที่อยู่ในเซลล์ได้รายงานความแข็งแรงของสัญญาณ โดย Node B สามารถที่จะตรวจสอบว่าอุปกรณ์ตัวใดส่งข้อมูลไปยังรอบเวลา (Time Frame) ในระยะเวลาอีก 2 ms ดังนั้นจะทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากที่สุดจากแบรนด์วิธที่ใช้งานได้ ซึ่ง Node B สามารถที่จะทำการตรวจสอบได้ด้วยเหมือนกันว่า มีจำวนข้อมูลมากเท่าใดที่ส่งไปยังอุปกรณ์แต่ละตัวที่อยู่บนพื้นฐานของการเชื่อมต่อ ระบบ HSPA ใช้ 16 Codes ซึ่งจำนวน 15 Codes ถูกใช้งานกับ HSPA ดังนั้น Node B ทำการตรวจสอบว่ามีจำนวน Codes เท่าใดที่กำหนดไปยังอุปกรณ์แต่ละตัวที่อยู่ภายในเซลล์ที่หนดค่า Time Slot ไว้ 2 ms ซึ่งจะทำการตรวจสอบอัตราความข้อมูลทั้งหมดที่ถูกส่งออกไป Node B สมารถกำหนด Time Slot ทั้งหมดและจำนวนทั้งหมด 15 Codes ไปยังอุปกรณ์ตัวเดียวที่อยู่ในเซลล์และถ้าตัวอุปกรณืรายงานผลว่าสถานภาพของสัญญาณดีก็จะได้รับอัตราความเร็วข้อมูลสูงสุด
  • Hybrid Automatic Repeat request (HARQ) เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในการแก้ค่าผิดพลาด (Correct Errors) ในการส่งสัญญาณของแพ็คเก็จระหว่าง Node B และตัวอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน (User' s Device) ตัวอุปกรณ์ได้มีการร้องขอการส่งสัญญาณใหม่อีก ในส่วนของแพ็คเก็จใด ๆ ที่เป็นค่าผิดพลาดในขณะที่กำลังเก็บแพ็คเก็จเก่าที่ไม่ถูกต้องไว้ ดังนั้นตัวอุปกรณืเริ่มรวบรวมแพ็คเก็จทั้งหมดเพื่อแก้ค่าผิดพลาด ซึ่งมันจะเก็บค่าแพ็คเก็จทั้งหมดที่ผิดพลาดและใช้งานเพื่อแก้ไขสัญญาณ จะเป็นวิธีการที่มีความเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพมากกว่า
  • HSDPA (High Speed Data Package Access) มีความสามารถในการรับไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่บนเคื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเราได้ เช่น ไฟล์ข้อมูลที่แนบมากับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Power Point หรือ Web Page โดยที่โครงข่าย HSDPA มีอัตราความเร็วข้อมูลสูงสุดประมาณ 3 - 6 Mbps สามารดดาวน์โหลดข้อมูลปกติที่เป็นไฟล์ข้อมูลดนตรีที่มีขนาด 3 Mbytes ใช้ระยะเวลาในการดาวน์โหลดไฟล์นี้เพียง 8.3 วินาที และไฟล์ข้อมูลที่เป็นวีดีโอคลิปมีขนาด 5 Mbytes สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลนี้ใช้เวลาเพียง 13.9 วินาที ซึ่งอัตราความเร็วข้อมูลที่ได้รับจากเทคโนโลยี HSDPA นี้จะมีอัตราความเร็วข้อมูลสูงสุด 14.4 Mbps แต่ผู้ให้บริการโครงข่ายส่วนใหญ่ได้จัดเตรียมอัตราความเร็วข้อมูลอยู่ที่ 3.6 Mbps และในการเปิดให้บริการครั้งแรกจะมีอัตราควมเร้วข้อมูล 7.2 Mbps นั้นมีอัตราการเติบโตเต็มที่รวดเร็วมาก โครงข่าย HSDPA ได้มีการเปิดใช้งานมา 2 ปีแล้ว และได้ถูกจัดวางไว้ในการนำเสนอเป็นบรอด์แบรนด์เคลื่อนที่ (Mobile Broadband) ไปงานทั่วโลก
  • HSUPA เป็นการใช้ประฌบชน์เทคนิคเดียวกับ HSDPA เทอมของการปรับตัวของการเชื่อมโยงบนการมอดุเลชั่นที่ถูกนำมาใช้งานและ HARQ ใช้งานเอปรับปรุง Uplink และสร้างการส่งสัญญาณข้อมูลที่พร้อมกันที่มีขนาดความเร็วข้อมูลสูงถึง 5.4 Mbps มีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อยที่อยู่ในเส้นทางการทำงาน เพื่อที่จะให้บริการอุปกรณ์ได้ทั้งหมดในการ Upload และลดวิธีการมอดุเลชั่น
  • Scheduling นี่คือกลไกการร้องขอี่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กับ Fast Packet Scheduling ข้างบน แต่เริ่มต้นโดยตัวอุปกรณ์ ตัวอุปกรณ์ร้องขอให้มีการอนุญาตในการส่งข้อมูลและ Node B จะทำการตรวจสอบอยู่บนเซลล์ที่กำลังรับภาระโหลดร้องขอและระดับกำลังงานที่อยู่ภายในเซลล์เมื่อใดและอุปกรณ์เท่าใดที่ถูกยอมให้อนุญาตและที่อัตราความเร็วข้อมูลเท่าไร
  • Non-Scheduling สำหรับการใช้งานที่แน่นอน เมื่อมีการหน่วงเวลาบนฐานของการ้องขอ Scheduling และอยู่บน Node B ควรจะมีขนาดใหญ่พอ เช่น VoIP มีวิธีการอื่นที่ตัวอุปกรณ์เริ่มต้นส่งสัญญาณ ในกรณีนี้ระดับพลังงานถูกกำหนดโดยตัวอุปกรณ์และมีค่าคงที่ เมื่อมีกิจกรรมี่มีการร้องขอ Schedule ซึ่ง Node B จะตรวจสอบระดับพลังงานของตัวอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณและจะถูกควบคุมแบบพลวัต เพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิธิภาพสูงสุดสำหรับอุปกรณ์ทั้งหมดทุกตัวที่อยู่บนเซลล์นั้น ๆ
  • HSUPA (High Speed Uplink Access) นี่เป้นการขยายเพิ่มออกไปอีกในการเพิ่มอัตราความเร็วข้อมูล โดยท่เราสามารถติดต่อสื่อสารจากตัวอุปกรณ์เคลื่อนที่ของเรา ตัวอย่างเช่น กรณีนี้เราสามารถอัพโหลดวีดีโอ (Upload Video) ไปยัง YouYube ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที ดังนั้นเราสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้อย่างรวดเร็วแบบทันทีทันใด อัตรความเร็วข้อมูลในการอัพโหลดที่ 384 Kbps ด้วยเทคโนโลยี HSUPA ในขณะที่อัตราความเร็วข้อมูลได้เพิ่มสูงสุดประมาณ 5.7 Mbps ในปัจจุบันนี้ HSUPA สามารถใช้บริการได้เพียงไม่กี่ประเทศ และในปีนี้คาดว่าจะเปิดให้บริการอย่างจริงจังทั่วโลก
  • HSPA Evolved บางครั้งก็อ้างถึง HSPA+ หรือ I-HSPA (มีความแตกต่างกันเล็กน้อยแต่จำนวนเป้าหมายสุดท้ายเหมือนกันสำหรับู้ใช้งาน) ระบบนี้จะเพิ่มอัตราความเร็วข้อมูลของ Downlink ที่จัดเตรียมไว้ 42 Mbps ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคนิคการมอดูเลชั่นแบบ 64 QAM และอัตราความเร็วข้อมูล Uplink สูงถึง 11.5 Mbps ด้วยการใช้เทคนิคการมอดูเลชั่นแบบ 16 QAM สำหรับการเพิ่มในอนาคตเพื่อช่วยให้การรับข้อมูลในการเพิ่มอัตราความเร็วข้อมลเป็นการเสริมของสายอากาศ MIMO (Multiple in multiple out) ปกติถูกนำมาใช้งานในการขยายประสิทธิภาพของระบบโดยมีขนาด 4 เท่า

HSPA Evolve หรือที่เรารู้จักเทคโนโลยีนี้ในนามของ HSPA+ นั้น เป็นขั้นตอนต่อไปและได้เป็นที่น่าสนใจอย่างมากในการให้การบริการส่งข้อมูลที่เราสามารถลือกอัตราความเร็วข้อมูลในการส่งข้อมูลให้มีอัตราความเร็วข้อมูลสูงสุดได้ถึง 42 Mbps ในการดาวน์ลิงค์ (Downlink) และมีอัตราความเร็วข้อมุล 11 Mbps สำหรับการอัพลิงค์ (Uplink) ซึ่ง HSPA+ จะนำมาให้บริการได้อย่างเป็นทางการในปลายปี 2008 หรือต้นปี 2009


ขีดความสามารถในการสื่อสารข้อมูลของ HSPA

ในแง่ของการใช้ประโยชน์จากสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เทคโนโลยี HSPA สามารถทำงานได้กับสถานีฐาน WCDMA เดิม รวมถึง สายอากา (Antenna) และสายนำสัญญาณคลื่นวิทยุ (Antenna Feeder) การพัฒนาเครือข่าย WCDMA ไปเป็น HSPA ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์ในกลุ่มเครือข่ายเข้าถึง และอาจมีการเพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพยงเล็กน้อยเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้นซึ่งถือเป็นการจูงใจในเชิงเศรษฐศาสตร์การลงทุน ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก WCDMA ไปเป็น HSPA ด้วยต้นทุนไม่มากนัก และยังคงใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์เครือข่าย WCDMA เดิมได้ทั้งหมด ในทางกลับกันก็ได้เพิ่มศักยภาพในการให้บริการสื่อสารข้อมูลอัตราเร็วสูง ซึ่ง HSPA ถือเป็นหนึ่งในมาตรฐานการให้บริการในยุค Broadband Wireless Access (BWA) เช่นเดียวกับเทคโนโลยีคู่แข่งอื่น ๆ เช่น WiMAX และ Flash-OFDM
เทคโนโลยี HSPA ในปัจจุบันสามารถตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคได้ในหลายลักษณะตั้งแต่การใช้งานประจำที่ไปจนถึงการใช้งานขณะเดินทางด้วยความเร็วสูง โดยยังคงสามารถรักษาอัตราเร็วในการสื่อสารในระดับ BWA ได้ จึงถือเป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานได้ในหลายรูปแบบ ในขณะที่เทคโนโลยีในกลุ่ม BWA ชนิดอื่น ๆ เช่น WiMAX ซึ่งแม้จะรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วที่สูงกว่า HSPA ในปัจจุบัน แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของพฤติกรรมการนำเครื่องลูกข่ายไปใช้งาน เช่น การใช้ในขณะเดินทางเคลื่อนที่แม้จะด้วยความเร็วท่ไม่มากนัก แต่ก็มีผลทำให้อัตราความเร็วในการสื่อสารลดต่ำลง ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะประจำที่มากกว่าประกอบกับเส้นทางในการพัฒนาขีดความสามารถในการสื่อสารข้อมูลของ HSPA ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้น จึงทำให้ HSPAเป็นทางเลือกหลักสำหรับการให้บริการ BWA ทั้งในปัจจุบันและอนาคต


แนวทางในการเลือกลงทุนเปิดให้บริการเรือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยพิจารณาตามพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค


ในมุมมองของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์การลงทุนตามพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค และบริหารต้นทุนในการสร้างเครือข่ายได้อย่างสออดคล้องกับแผนกรเงินด้วยการเลือกสร้างเครือข่าย WCDMA เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลภายในเขตเมือง ในขณะที่ใช้เครือข่าย GSM/GPRS/EDGE รองรับ การสื่อสารในภูมิภาค ซึ่งส่วนใหย่ยังคงเน้นการพูดคุย (Voice) และการสื่อสารข้อมูลทีมีอัตราเร็วไม่มากนัก เช่น การดาวน์โหลดข้อมูลสำหรับการลงทุน HSPA นั้น ผู้ให้บริการยังสามารถเลือกกำหนดพื้นที่หนาแน่นภายในเขตเมือง (Dense Urban) ที่คาดว่าจะมีปริมาณการบริการข้อมูลแบบ BWA สูงมาก ๆ เมื่อศึกษาการใช้งานของผู้บริโภคไประยะหนึ่งแล้ว ก็อาจทยอยพัฒนาอุปกรณ์สถานีฐาน WCDMA ใหมีการทำงานเป็นแบบ HSPA มากขึ้น หรือยิ่งกว่านั้นก็อาจปรับเปลี่ยนสถานีฐาน 2G ที่ทำงานด้วยเทคโนโลยี EDGE ในพื้นที่ภูมิภาคหรือชานเมืองให้เป็นสถานีฐาน WCDMA/HSPA มากขึ้นตามสภาพธุรกิจในมุมมองของการลงทุน จึงนับว่าเส้นทางการพัฒนาของเทคโนโลยี WCDMA และ HSPA ตอบรับกับการขยายธุรกิจของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งกลุ่มที่มีเครือข่าย GSM เป็นของตนเองอยู่ก่อนแล้ว และทั้งกลุ่มใหม่ที่เริ่มสนใจเข้ามาลงทุนให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยเริ่มจากการสร้างเครือข่าย WCDMA
ขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลของมาตรฐานเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ชนิดต่าง ๆ ในสายตระกูล 3GPP ที่ใช้มาตรฐานการเข้ารหัสสัญญาณแบ CS3 และ CS4 (Coding Scheme 3 และ 4) ซึงเป็นการเข้ารหัสก้อนข้อมูลที่เน้นให้มีส่วนของเนื้อหาข้อมูล (User Payload) มากกว่าส่วนของการรักษาความถูกต้องของข้อมูล (Correction Payload) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วที่มากกว่า Coding Scheme แบบต่ำ ๆ เช่น แบบ 1 และ 2 แต่ก็มีความเส่ยงท่ข้อมูลจะได้รับความเสียหายจากสัญญาณรบกวนภายในอากาศขณะมีการรับส่ง จากนั้นจึงเป็นกรแสดงขีดความสามารถของมาตรฐาน EDGE ที่ใช้มาตรฐานการเข้าสัญญาณแบบ MCS9 (Modulation and Coding Scheme 9) ซึ่งก็เป็นรูปแบบการเข้ารหัสที่รองรับการส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุดในมาตรฐาน EDGE แต่ก็มีความเสี่ยงต่อการถูกรบกวนสูงสุดเช่นกัน ขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลของมาตรฐาน WCDMA (ภายใต้การเรียกชื่อว่า UMTS) รวมถึงมาตรฐาน HSDPA ทั้งหมดนี้เป็นการวัดประเมินประสิทธิภาพในด้านอัตราเร็วของกรสื่อสารในทิศทางรับ (Downlink) จากสถานีฐานไปสู่เครื่องลูกข่าย โดยมีการทดสอบการรับส่งกับข้อมูลต่างประเภทกัน ได้แก่ รูปภาพขนาดเล็ก ๆ (ภาพขนาด VGA ที่ถ่ายจากกล้องของโทรศัพท์เคลื่อนที่) ภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (ถ่ายจากกล้องด้วยความละเอียดตั้งแต่ 1 ล้านพิกเซลขึ้นไป) จนถึงไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น คลิปวิดีโอ หรือไฟล์ Power Point
ผลที่ได้จากการทดสอบส่งข้อมูลประเภทต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละชนิด พบว่า ยิ่งข้อมูลมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด เทคโนโลยีสื่อสารแบบ HSDPA ก็ยิ่งแสดงประสิทธิภาพในแง่ของการประหยัดเวลาในการับส่งข้อมูลในอัตราที่สูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนหน้า แม้กระทั่งเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ WCDMA ที่มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 384 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ใช้บริการก็ยากที่จะได้รับช่องสัญญาณอัตราเร็วเท่านี้ เนื่องจากต้องมีการแบ่งแบรนวิดท์ร่วมกับผู้ใช้บริการรายอื่นในขณะที่การทดลองรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย HSDPA มีการจำกัดอัตราเร็วของเครือข่ายไว้ที่ 2 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งถือว่เป็นอัตราเร็วเฉลี่ยที่ผู้ใช้บริการจากเทคโนโลยี HSDPA ยิ่งเมื่อเทียบกับงบประมาณในกรลงทุนบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อน ๆ ซ่งปัจจุบันมีต้นทุนที่ไม่แตกต่างกันมากนักก็ยิ่งทำให้ผู้บริการเครือข่ายสามารถกำหนดกลยุทธ์ในการขยายขีดความสามารถของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนจาก GSM/GPRS/EDGE หรือแม้กระทั่ง WCDMA ให้เป็นเทคโนโลยี HSPA (HSDPA+HSUPA) ได้อย่างมั่นใจในความคุ้มทุน


ข้อดีของ HSPA 900 MHz

อยู่ที่เป็นคลื่นที่ส่งสัญญาณไปได้ไกลกว่า 2100 MHz ทำให้ลดต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์ แต่ข้อด้อยก็มีอยู่บ้าง เช่น การทะลุทะลวงของคลื่นสัญญาณอาจจะทำได้ไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับคลื่น 210 MHz เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่า คลื่น 900 MHz ใช้งานในบริเวณที่ราบไม่มีสิ่งกีดขวางมากนัก แต่ 2100 MHz ใช้งานได้ดีในย่านชุมชนที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น อาคาร เป็นต้น


คุณสมบัติของ HSPA

  1. Hi Speed Internet ในปัจจุบันมาตรฐานของการรับส่งข้อมูลที่เร้วที่สุด ยังอยู่ที่เทคโนโลยี EDGE ซึ่งให้ควมเร็วประมาณ 160 kbps แต่ HSPA ให้ความเร็วในการโหลดข้อมูลที่ 7.2 Mbps ต่างกัน 4.5 เท่า (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อว่ารองรับความเร็วได้สูงสุดไหร่)
  2. Video Call ถือว่าเป็นมาตรฐานของเทคโนโลยี 3G ที่มีในโทรศัพท์มือถือ โดยคู่สนทนาจะเห็นหน้าซึ่งกันและกันผ่านกล้องที่อยู่ด้านหน้าโทรศัพท์มือถือ การใช้งานจริงอาจจะมีการดัเลย์บ้างเป็นบางครั้ง แต่โดยรวมถือว่าใช้งานได้ดี

ล้ำยุคไปกับระบบติดตามด้วยดามเทียม GPS (Global Positioning System)

การเริ่มต้นของระบบ GPS
ก่อนที่จะมีระบบ GPS เรายังไม่เคยมีเครื่องมือที่นำมาใช้บอกตำแหน่งและทิศทางที่สมบูรณ์เลย สิ่งที่มนุษย์เราต้องใช้ตั้งแต่เริ่มเดินทางรอบโลกจะมีก็เพียงแต่เข็มทิศเท่านั้นที่ใช้บอกทิศทาง วิธีสังเกตจากดวงดาว ซึ่งใช้การได้ดีเพราะดาวอยู่ห่างจากโลกเรามาก แต่การวัดดาวทำได้เฉพาะตอนกลางคืนและต้องเป็นคืนที่ท้องฟ้าแจ่มใส เครื่องมือที่ทันสมัยในยุคอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งมนุษย์ได้สร้างขึ้นสำหรับการเดินเรือแบบใหม่ชื่อระบบ LORAN ที่ใช้คลื่นวิทยุซึ่งติดตั้งตามพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ต่อมาใช้ดาวเทียมเหมือนระบบ GPS คือ ระบบที่เรียกว่า "TRANSIT SYSTEM" หรือ "SATNAV" ทั้งสองระบบที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจุบันได้ยกเลิกการใช้งานแล้วเนื่องจากมีข้อบกพร่องในการบอกตำแหน่ง ในส่วนของระบบ LORAN นั้นสามารถที่จะบอกตำแหน่งได้เพียงบริเวณหนึ่งๆเท่านั้นไม่สามารถที่จะทำการบอกตำแหน่งได้ครอบคลุมทั้งหมด ส่วนระบบ TRANSIT นั้น สามารถที่จะบอกตำแหน่งครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า แต่ก็มีข้อบกพร่อง คือ วงโคจรดาวเทียมของระบบอยู่ในระดับต่ำและมีจำนวนน้อยเกินไป และเนื่องจากระบบ TRANSIT ใช้วิธีการวัดคลื่นแบบDoppler ซึ่งถ้ามีการเคลื่อนไหวเครื่องรับสัญญาณเพียงเล็กน้อยก็จะเกิดความคลาดเคลื่อนในการบอกตำแหน่งไปได้มาก


วิวัฒนาการของ GPS

In 1972, the US Air Force Central Inertial Guidance Test Facility (Holloman AFB) conducted developmental flight tests of two prototype GPS receivers over White Sands Missile Range, using ground-based pseudo-satellites.
In 1978 the first experimental Block-I GPS satellite was launched.
In 1983, after Soviet interceptor aircraft shot down the civilian airliner KAL 007 that strayed into restricted Soviet airspace due to navigational errors, killing all 269 people on board, U.S. President Ronald Reagan announced that the GPS would be made available for civilian uses once it was completed.
In 1989, the first modern Block-II satellite was launched.
In 1996, recognizing the importance of GPS to civilian users as well as military users, U.S. President Bill Clinton issued a policy directive declaring GPS to be a dual-use system and establishing an Interagency GPS Executive Board to manage it as a national asset.
On May 2, 2000 "Selective Availability" was discontinued as a result of the 1996 executive order, allowing users to receive a non-degraded signal globally.
In 2004, the United States Government signed a historic agreement with the European Community establishing cooperation related to GPS and Europe's planned Galileo system.
In 2004, U.S. President George W. Bush updated the national policy, replacing the executive board with the National Space-Based Positioning, Navigation, and Timing Executive Committee.
November 2004, QUALCOMM announced successful tests of Assisted-GPS for mobile phones.
In 2005, the first modernized GPS satellite was launched and began transmitting a second civilian signal (L2C) for enhanced user performance.

ส่วนประกอบของระบบ GPS

  • ส่วนอวกาศ Space Segment (SS)

  • ส่วนควบคุม Control Segment (CS)

  • ส่วนผู้ใช้ User Segment (US)

วงโคจรของดาวเทียม GPS

  • ลักษณะของวงโคจรของดาวเทียมจีพีเอสมีลักษณะแบบ Non-Geostationary orbit

  • จำนวน 6 วงโคจร แต่ละวงประกอบด้วยดาวเทียม อย่างน้อยจำนวน 4 ดวง

  • โคจรเอียงทำมุม 55 องศา กับเส้นศูนย์สูตร

  • โคจรรอบโลกสูงจากพื้นผิวโลก เป็นระยะทาง 20,200 กม.โดยประมาณ
    ซึ่งลักษณะของวงโคจรถูกออกแบบมาให้ทุกพื้นที่บนโลกสามารถมองเห็นดาวเทียม ได้อย่างน้อย 4 ดวง

ภาคพื้นดินสถานีควบคุม (Control Station Segment)

ส่วนนี้จะคอยควบคุมสั่งการและดูแลดาวเทียม ตรวจตราความเรียบร้อยของระบบ ส่งค่าการแก้ไขปรับแต่งต่างๆเช่น ข้อมูลวงโคจร ข้อมูลเวลา

  • สถานีสังเกตการณ์ (Monitor Station) จำนวน 5 แห่ง กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ของโลก ได้แก่ Hawaii , Kwajalein , Ascension Island , Diego Garcia และ Colorado Spring
  • จานส่งสัญญาณภาคพื้นดิน (Ground Antennas) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 จุด ได้แก่ Ascension Island , Diego Garcia , Kwajalein
  • ศูนย์บัญชาการ (Master Control Station(MCS)) ตั้งอยู่ฐานทัพอากาศสหรัฐฯ Schriever AFB รัฐ Colorado

ประเภทเครื่องรับสัญญาณ GPS

สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท

  1. เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบนำหน
  2. เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบรังวัด
  • เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบนำหน ( Navigation Receiver) รับสัญญาณที่เป็นคลื่นวิทยุจากดาวเทียม ในขณะเดียวกันก็สร้างรหัส C/A (Coarse/Acquisition) ขึ้นมาเปรียบเทียบกับรหัสที่ถอดได้จากสัญญาณ เมื่อเปรียบเทียบได้รหัสที่ตรงกันจะทำให้รู้เวลาที่คลื่นวิทยุใช้ในการเดินทางจากดาวเทียมมายังเครื่องรับ ในการหาตำแหน่ง ( แบบ 3มิติ) ต้องวัดระยะทางไปยังดาวเทียมพร้อมกัน 4 ดวง หากจำนวนดาวเทียมน้อยกว่า 3 ดวง ค่าตำแหน่งที่ได้จะไม่มีความน่าเชื่อถือและในกรณีที่มีดาวเทียมอยู่ในท้องฟ้ามากกว่า 4 ดวง เครื่องรับจะเลือกดาวเทียม 4 ดวง ที่มีรูปลักษณ์เชิงเรขาคณิตที่ดีที่สุด หรือมีค่า PDOP ต่ำที่สุดมาใช้ในการคำนวณตำแหน่งของเครื่องรับ
  • เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบรังวัด
    - การทำงานของเครื่องรับแบบรังวัดมีหลักการสำคัญ 3 ประการ
    (1) การใช้คลื่นส่งวัดระยะแทนการใช้รหัส C/A วัดระยะ ทำให้การวัดระยะมีความถูกต้องมากขึ้นเป็นพันเท่า
    (2) การใช้วิธีการวัดแบบสัมพัทธ์เป็นวิธีการขจัดความคลาดเคลื่อนแบบมีระบบ (Systematic Errors) ที่อยู่ในข้อมูลหรือที่เกิดขึ้นในการวัดระยะทางให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ ด้วยเหตุนี้ความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งจึงลดลง
    (3) การวัดระยะด้วยคลื่นส่ง เครื่องรับสัญญาณวัดระยะระหว่างเครื่องรับกับดาวเทียมได้เพียงบางส่วนเท่านั้น จำเป็นต้องอาศัยการประมวลผลช่วยหาระยะที่ขาดหายไป
    - วิธีการทำงานคือ นำเครื่องรับแบบรังวัดไปวางที่หมุดที่ต้องการหาตำแหน่งเปรียบเทียบกันเป็นเวลาตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการรับสัญญาณมาประมวลผลได้เป็น เส้นฐาน และนำข้อมูลดังกล่าว มาประมวลผลร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการรังวัดตำแหน่งอื่นๆ ที่ต้องการทราบค่าเพื่อหาค่าพิกัดที่ถูกต้องของตำแหน่งนั้น การทำงานรังวัด

หลักในการบอกตำแหน่ง GPS

การทำงาน GPS แบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ

  1. การรับสัญญาณจากดาวเทียมโดยหลักการรูปสามเหลี่ยมระหว่างดาวเทียมกับเครื่องรับ
  2. GPS วัดระยะโดยใช้เวลาเดินทางของคลื่นวิทยุ
  3. ในดาวเทียมและเครื่องรับจำเป็นจะต้องมีนาฬิกาที่ละเอียดสูงมาก
  4. นอกจากระยะทางแล้วจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมที่อยู่ในอวกาศด้วย
  5. ในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) และชั้นบรรยากาศโลก (Atmosphere) ความเร็วคลื่นวิทยุเดินทางได้ช้าลง จึงต้องทำการแก้ไขจุดนี้ด้วย

หลักในการบอกตำแหน่ง GPS

  • การรับเอาสัญญาณจากดาวเทียมจีพีเอสอย่างน้อย 4 ดวง
  • สัญญาณที่รับมานี้จะทำให้ทราบข้อมูลที่สำคัญต่อการคำนวณตำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณ คือตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง และเวลาที่สัญญาณเดินทางมาถึง
  • ซึ่งจะทำให้ทราบระยะทางจากดาวเทียมถึงเครื่องรับจีพีเอส โดยการนำเอาเวลาที่ได้หลังจากตัดความคลาดเคลื่อนของเวลา มาคูณกับความเร็วแสง
  • ระยะทางที่ได้นี้คือ Pseudorange มาทำการแก้สมการเพื่อหาค่าที่ไม่ทราบค่า จากสมการ

ความคลาดเคลื่อนของระบบ GPS

ค่าความผิดพลาดในการหาตำแหน่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  1. Correctable Error แก้ไขได้ จะเป็นค่าความผิดพลาดที่เกิดขั้นเหมือน ๆ กันกับเครื่องรับ GPS ทุกเครื่องที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน
  2. Non-Correctable Error แก้ไขไม่ได้ จะเป็นค่าความผิดพลาดแบบที่ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย ในระหว่างเครื่องรับทุกเครื่องที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน

ระบบติดตมด้วยดาวเทียมอื่น ๆ
Beidou – China's regional system that China has proposed to expand into a global system named COMPASS.
Galileo – a proposed global system being developed by the European Union, joined by China, Israel, India, Morocco, Saudi Arabia, South Korea, and Ukraine, planned to be operational by 2011–12.
GLONASS – Russia's global system which is being restored to full availability in partnership with India.
Indian Regional Navigational Satellite System (IRNSS) – India's proposed regional system.
QZSS – Japanese proposed regional system, adding better coverage to the Japanese Islands.