2551-07-16

ถุงนั้นสำคัญไฉน

ถุงนั้นสำคัญไฉน (ถุงยางอนามัย)

ถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิด ทำด้วยวัสดุจากยางพารา หรือโพลียูรีเทน โดยมีทั้งแบบสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ส่วนหใญ่ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายใช้ โดยใช้สวมตครอบอวัยวะเพศชายขณะร่วมเพศ โดยเมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิแล้ว น้ำอสุจิจะถูกเก็บไว้ในถุงยางอนามัย ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย

ชนิดของถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยที่มีการผลิตจำหน่ายในโลกนี้ มี 3 ชนิดตามวัสดุที่ใช้


  1. ชนิดที่ทำจากลำไส้สัตว์ (Skin condom) วัสดุที่ใช้ผลิตเป็นส่วนของลำไส้ส่วนล่างของแกะ ที่เรียกว่า caecum มีใช้ในอเมริการ้อยละ 5 เขาว่าใช้แล้วรู้สึกสบายยามส่วนใส่ ไม่รัดรูป ให้ความรู้สึกสัมผัสที่ดีในขณะมีเพศสัมพันธ์ เชื่อว่าวัสดุจากลำไส้สัตว์สามารถสื่อผ่านความอบอุ่นของร่างกายสู่กันได้ และความชุ่มชื่นจากสารคัดหลั่งสามารถซึมผ่านเนื้อเยื่อได้ แต่เนื่องจากผิวของวัสดุมีรูพรุนเล็ก ๆ ที่ขวางได้เฉพาะตัวอสุจิเท่านั้น จึงไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคติดต่อทางเพษสัมพันธ์ได้ skin condom มีความหนา 0.15 มิลลิเมตร และไม่สามารถยืดตัวได้ (แต่มีความอ่อนนุ่ม) จึงสวมใส่แบบหลวม ๆ ไม่รัดแนบแน่นแบบที่ทำจากยางธรรมชาติ ขนาดความกว้างเมื่อวางแบนราบ มีตั้งแต่ 62 มิลลิเมตร ถุง 80 มิลลิเมตร ถุงยางชนิดนี้ไม่มีการผลิตจำหน่ายในเมืองไทย
  2. ชนิดที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ (rubber condom latex condom) จากวัสดีที่ทำนี่เองจึงเป็นที่มาของคำว่า "ถุงยางอนามัย" ถุงยางที่ถูกสุขอนามัย สะอาด ถุงยางอนามัยที่มำจากยางธรรมชาตินี้มีราคาถูกกว่า บางกว่า ยืดหยุ่นได้ดีกว่าแบบที่ทำจากลำไส้สัตว์ จึงมีขนาดความกว้างน้อยกว่า การสวมใส่กระชับรัดแนบเนื้อ สามารถใช้ได้ทั้งเพื่อการคุมกำเนิด และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
  3. ชนิดที่ทำจาก Polyurethane (ถุงยางพลาสติก) ปัจจุบันได้มีการนำวัสดุอื่นมาผลิตเป็นถุงยางอนามัย เช่น สาร Polyurethane เพราะถุงยางอนามัยที่ทำจากยางธรรมชาติก็มีข้อด้อย เช่น แพ้ รั่วได้ ใช้สารล่อลื่นบางชนิดไม่ได้ กลิ่นไม่ค่อยชวนดม เรียกถุงยางอนามัยชนิดนี้ว่า ถุงยางพลาสติก (plastic condom) แต่ถุงยางชนิดนี้ให้ความรู้สึกที่ดีกว่าแบบที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ คงทนกว่าแบบยางธรรมชาติ สามารถใช้สารหล่อลื่นที่ทำจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีได้ เท่าที่มีจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ใช้ชื่อ AVANTI เป็นของ DUREX

ขนาดของถุงยางอนามัย

คุณภาพมาตรฐานและข้อกำหนดของถุงยางอนามัยตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2535 ได้กำหนดประเภทของถุงยางอนามัยที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติเป็น 13 ประเภท ตามขนาดความกว้าง คือตั้งแต่ขนาด 44 มิลลิเมตร จนถึงขนาด 56 มิลลิเมตร และกำหนดความยาวของถุงยางวัดจากปลายเปิดจนถึงปลายปิด ไม่รวมส่วนมี่เป็นติ่งหรือกระเปาะ ต้องไม่น้อยกว่า 160 มิลลิเมตร ซึ่งกำหนดตามมาตรฐานขององค์การกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO) ปี ค.ศ. 1990

สำหรับตลาดในเมืองไทยเท่าที่มีจำหน่ายมีอยู่ 2 ขนาด คือขนาดใหญ่กับขนาดยักษ์

นาดใหญ่ หรือขนาด 49 มิลลิเมตร มีขนาดความกว้างเมื่อวางถุงยางที่คลี่แล้วแบนราบกับพื้น วัดจากขอบหนึ่งถึงขอบหนึ่ง 49 มิลลิเมตร มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 160 มิลลิเมตร ขนาดนี้เหมาะกับคนไทยมากที่สุด

ขนาดยักษ์ หรือขนาด 52 มิลลิเมตร ความกว้างเมื่อวางแบนราบเท่ากับ 52 มิลลิเมตร ความยาวเท่ากับ 180 มิลลิเมตร

ขั้นตอนการใช้ถุงยางอนามัย

  1. บรรจงฉีกซองอย่างระมัดระวัง แล้วหยิบออกจากซองอย่างนิ่มนวล ระวังอย่าให้ถุงยางอนามัยสัมผัสกับเล็บหรือของประดับที่มีคม
  2. ถุงยางอนามัยบรรจุในซองในลักษณะม้วนเป็นรูปวงแหวน ให้รอยม้วนอยู่ด้านนอก คลี่ถุงยางออกมาสัก 1 - 2 เซนติเมตร
  3. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบกระปาะ (ติ่งตรงปลาย) ไล่ลมออก น้ำมาครอบปลายอวัยวะเพศ (ถ้าหนังหุ้มยาวต้องรูดขึ้นไปให้พ้นปลายหัว)
  4. ใช้อีกมือรูดถุงยางขึ้นไปจนถึงโคร (อีกมือยังคงบีบปลายดิ่งอยู่)
  5. ถ้าใส่ถูกต้อง ตรงติ่งต้องแบนไม่มีลมอยู่ภายใน (ถ้าเป็นแบบปลายมาต้องเหลือปลายถุงยางไว้สัก 1 เซนติเมตร) ทั้งนี้เพื่อป้องกันถุงยางอนามัยแตก
  6. ถ้าความหล่อลื่นไม่พอ ก็สามารถทาสารหล่อลื่นเพิ่มเติมได้ แต่ต้องหลังจากสวมใส่แล้ว และสารหล่อลื่นที่ใช้ต้องมีส่วนผสมเป็นน้ำ หรือซิลิโคน เช่น ky - jelly อย่ามักง่ายใช้วาสลีนโดยเด็ดขาด เพราะวาสลีนเป็นเจลที่มี petroleum เป็นส่วนประกอบ
  7. หลังจากมังกรพ่นพิษ ห้ามรอดูผลงาน ห้ามแช่ ต้องรีบถอยถอนสมอโดยเร็วก่อนที่นกเขาจะหลับ ไม่งั้นถุงยางจะหลุดค้างคาในถ้ำ
  8. ตอนถอดสมอ มือต้องจับขอบปลายส่วนเปิดไว้ด้วย ไม่งั้นถุงยางอาจถูกหนีบออกแต่ตัว แต่เสื้อหลุดได้ และเมื่อออกมาแล้วต้องระมัดระวังมืออย่าไปโดนด้านนอกของถุงยางที่มีสารคัดหลั่งของฝ่ายหญิงอยู่ อาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ (กรณีมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยา)
  9. เมื่อถอดออกแล้ว จะทดสอบรอบรั่วได้ โดยเอาไปรองน้ำจากก๊อก ใส่ถุงยางที่ใช้แล้ว ถ้ารั่วก็จะเห็นได้

ประสิทธิภาพของถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  1. โรคเอดส์ ป้องกันมากกว่า 90%
  2. โรคไวรัสอักเสบ บี ป้องกันมากกว่า 90%
  3. หูดหงอนไก่ ไม่ได้ผล หรือป้องกันได้ 10 - 50%
  4. หนองในเทียม ป้องกันได้ 50 - 90%
  5. หนองในแท้ ป้องกันมากกว่า 90%
  6. พยาธิในช่องคลอด ป้องกันมากกว่า 90%
  7. ซิฟิลิส ป้องกันได้ 50 - 90%
  8. โรคเริม ป้องกันได้ 10 - 50%
  9. โรคแผลริมอ่อน ป้องกันได้ 10 - 50%

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

หากสินค้าแบรนด์ดังทั้งหลายหันมาผลิต ถุงยาง ดูสิว่ายี่ห้อไหนโดนใจคุณ

  • ถุงยางเลย์ อร่อยชิ้นเดียวไม่เคยพอ
  • ถุงยางแมคโดนัลด์ อร่อยรส สนุกล้ำ
  • ถุงยาง M&M ละลายในปากไม่ละลายในมือ
  • ถุงยางคลอสเตอร์ รสชาติที่คุณดื่มได้
  • ถุงยางลีโอ ถูกคอ ถูกใจ
  • ถุงยางไนกี้ Just Do It
  • ถุงยางแป๊ปซี่ รสชาติของคนรุ่นใหม่
  • ถุงยางเอนเนอร์ไจเซอร์ ให้พลังงานนานกว่าถุงยางธรรมดาถึง 7 เท่า
  • ถุงยางแอร์โรว์ เอกลักษณ์ของเอกบุรุษ
  • ถุงยางมิต้า เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทำ
  • ถุงยางโค้ก ส่งถุงยางส่งยิ้ม
  • ถุงยางเอไอเอส ถุงยางเหนือระดับ ทุกที่ ทุกเวลา
  • ถุงยางใกล้ชิด รักแท้แพ้ถุงยาง
  • ถุงยางวอลโว่ ทุกชีวิตปลอดภัยในถุงยาง...
  • ถุงยางลิโพ คำเตือน : ห้ามใช้เกินวันละ 2 ห่อ และโปรดอ่านคำเตือนบนฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง

โรคเอดส์

  • เอดส์ พบครั้งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2531 หรือ 20 ปีที่ผ่านมา
  • เอดส์ จะปรากฎอาการระยะที่ 2 ใน 7 - 10 ปี

2551-07-12

การจัดการองค์กรให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน

ความสำคัญขององค์กร
องค์กร หมายถึง กลุ่มคนจำนวนตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มารวมกัน เพื่อทำงานด้วยกันภายใต้โครงสร้างองค์กรที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งของกลุ่มที่ตั้งไว้

การจัดการ
การจัดการ หมายถึง การจัดการทรัพยากรการบริหารมาใช้ในการดำเนินการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันประกอบด้วยกระบวนการวางแผน การควบคุม การอำนวยการและประสานการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างราบรื่น เพื่อให้ธุรกิจบรรลุผลสำเร็จตามแผนงานและโครงการที่วางไว้
  1. Planning การวางแผน
  2. Orgazizing การแบ่งงาน
  3. Staffing การบริหารงานบุคคล
  4. Leading การประสานงาน การบริหารจัดการ
  5. Controlling ตัวชี้วัด การประเมินผลงาน

Organization System
  • Organization (องค์กร)
  • Objective (วัตุประสงค์)
  • Management (การจัดการ)
  1. Organization
  • Formal Organization องค์กรที่เป็นทางการ
  • Informal Organization องค์กรที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่ถ้าหากมีการบริหารงานที่ดีก็จะกลายเป็น Formal Organization

Organization แบ่งเป็น 3 ประเภท

(1) Public Organization เป็นองค์กรทางราชการ ของรัฐบาลทั้งหมด เช่น ธนาคาร 5 แห่ง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงไทย

(2) Business Organization เป็นองค์กรทางธุรกิจ ที่ทำให้เกิดผลกำไร

(3) Social Organization เป็นองค์กรทางด้านสังคม เช่น บ้าน เครือญาติ

องค์ประกอบของคนดี

  • ศีล
  • สมาธิ
  • ปัญญา

(1) คนดี คือคนที่รักตัวเอง ไม่สร้างปัญหาแก่ตัวเอง
(2) รักพ่อแม่ ไม่สร้างปัญหาให้พ่อแม่ มีความกตัญญู
(3) รักสังคม ไม่สร้างปัญหาให้ทรัพยากรมนุษย์

สิ่งที่พ่อแม่ต้องการ
(1) ดี
(2) เก่ง
(3) มีงานทำเป็นหลักเป็นแหล่ง

2. Objective

  • Service Objective
  • Profit or Economic Objective
  • Social Objective

3. Management

  • Planning
  • Organizing
  • Staffing
  • Leading
  • Controlling

การบริหารจัดการ

  • Diaming Circle
  • Planning
  • Doing
  • Checking
  • Acting

3 ทักษะที่ต้องเจอในองค์กร

  1. Social Organization
  2. Plublic หรือ Buainess Organization
  3. Technical Sgreen

วิธีการแบ่งเงินเดือนไว้ 4 ส่วน

  1. ตัวเอง : ใช้จ่ายส่วนตัว
  2. พ่อแม่ : ตอบแทนบุญคุณ
  3. เก็บออม
  4. เหตุฉุกเฉิน
สิ่งที่ทุกหน่วยงานมีให้
  1. บรรทัดฐาน (Norm) แบบฟอร์ม ระเบียบกฎเกณฑ์หรือสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม
  2. วัฒนธรรมองค์กร (Value) การแต่งกาย การทักทาย เป็นต้น
สาเหตุของความล้มเหลว
  • ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานประจำวันมากกว่าการคิดถึงแผนกลยุทธ์
  • ขาดทักษะในการสื่อสาร คือ ทักษะการพูดจูงใจ การฟัง การอ่าน การตีความข้อมูลข่าวสารและการเขียน
  • ขาดทักษะในการทำงานเป็นทีม

สาเหตุของความล้มเหลวในการจัดการองค์กร

  • มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีอัตตาสูง
  • ตัดสินใจจากสัญชาตญาณมากกว่าข้อมูล
  • ไม่สนใจรายละเอียดของขั้นตอนและเนื้อหาของงาน
  • ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการจัดการองค์กรในยุคปัจจุบัน

ที่สำคัญ คือ การจัดการตนเอง (Self-Organization) ซึ่งเป็นระบบที่ปรับตัวได้ ยืดหยุ่นได้ ฟื้นฟูตัวเองได้ กลับสู่สภาพเดิมได้ง่าย รู้จักเรียนรู้ด้วยตัวเองและมีปัญญาเป็นของตัวเอง เมื่อใดก็ตามที่เกิดการเปลี่ยนแปลงก็สามารถปรับตัวและจัดการตนเองเสียใหม่ จนพัฒนาเป็นระบบที่ซับซ้อนขึ้นได้เอง โดยไม่ต้องมีการบังคับทิศทางหรือรูปแบบจากภายนอก คุณสมบัติเหล่านี้เป็นคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต และเป็นคุณสมบัติของผู้นำทุก ๆ คน

หลักการที่สำคัญมีอยู่ 3 ประการ

  1. ตัวตน (Identity) ความเข้าใจร่วมกันขององค์กร การจัดการองค์กรทุกองค์กรนั้นจะต้องมีตัวตนที่ถูกจัดการ
  2. ข้อมูล (Information) สื่อขององค์กร ข้อมูล คือ หัวใจสำคัญของการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนเข้าถึงได้ และมีพร้อมอยู่เสมอ
  3. ความสัมพันธ์ (Relationships) เส้นทางเชื่อมโยงภายในองค์กร ความสัมพันธ์ คือ เส้นทางสู่ปัญญาของระบบ

องค์กรที่จะประสบผลสำเร็จต้องประกอบด้วย

  • การยอมรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ
  • ความสามารถของพนักงานในการปรับปรุง
  • โครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม
  • การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • การมีตัวชี้วัดที่ดีที่สุด

หลัการทรงงานของในหลวง

ได้ประโยชน์สูงสุด ทำให้ง่าย

ขาดทุนคือกำไร พออยู่ พอกิน รู้รักสามัคคี

ทำตามลำดับขั้น ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ

ไม่ติดตำรา มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่

บริการรวมที่จุดเดียว เศรษฐกิจพอเพียง

ทำงานอย่างมีความสุข รู้รักสามัคคี

ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ภูมิสังคม

แก้ปัญหาที่จุดเล็ก ใช้อธรรมปราบอธรรม

การมีส่วนร่วม การพึ่งตนเอง

องค์รวม ความเพียร

ระเบิดขากข้างใน ประหยัด เรียบง่าย

การให้ทฤษฎีโดมิโน ปลูกป่าในใจคน