2551-08-12

ปฏิวัติการสื่อสารไทยด้วยเทคโนโลยี HSPA (High Speed Packet Access)

ความเป็นมาของ HSPA

ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 และเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้ทำการยกระดับ (Upgrade) โครงข่ายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สามารถใช้งานข้อมูลที่แปรผันตามอัตราความเร็วข้อมูลได้ ดังนั้นเราต้องการอุปกรณ์เคลื่อนที่ ซึ่ง HSPA ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งโดยส่วนแล้วเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาระดับสูงได้ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ไว้เป็นมาตรฐานแล้ว

HSPA มีความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่เนื่องจากกลุ่มของเทคโนโลยีระบบ GSM ซึ่งได้ให้กำเนิดการติดต่อสื่อสารเคลื่อนที่ของประชากรโลกที่อยู่ในโลกที่สาม HSPA เป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่สามารถเลือกกรทำงานได้แม้กระทั่งอัตราความเร็วข้อมูลที่มีอัตราความเร็วข้อมูลสูง สำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันนี้สามถใช้งานได้ ซึ่งวิวัฒนาการนี้จะเห็นได้จากตระกูลที่พวกเราคุ้นเคย เช่น เทคโนโลยี GPRS (เป็นเทคโนโลยีแบบแพ็คเก็จตัวแรกที่มีอัตราความเร็วข้อมูล 128 Kbps) เทคโนโลยี EDGE (เป็นเทคโนโลยีที่ได้เพิ่มอัตราความเร็วข้อมูลสูงขึ้นประมาณ 240 Kbps) และจึงเข้าไปสู่เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ที่กำลังเพิ่มอัตราความเร็วข้อมูลเป็น 384 Kbps

HSPA เป็นคำทั่ว ๆ ไป เพื่อรวบรวมคำย่อทั้งหมดสำหรับ HSDPA และ HSUPA และ HSPA Evolve (HSPA+) ในปัจจุบันเทคโนโลยีบรอดแบรนด์เคลื่อนที่ (Mobile Broadband Technology) ได้ถูกเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางทั่วโลกด้วยจำนวนอุปกรณ์ที่แสดงมีจำนวนมากมายไม่เพียงแต่จำนวนในเชิงปริมาณ แต่ความหลากหลายของอุปกรณ์ท่แสดงให้เห็น ซึ่งประชาชนมีเส้นทางที่แตกต่างกันในการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่มีการเคลื่อนที่

โครงข่ายทั้งหลายที่ได้ถูกนำมาใช้งานโดยหลักอยูที่สเปกตรัมย่านความถี่ 1900 MHz และ 2100 MHz กับการดำเนินงานเพียงไม่กี่รายที่ได้ใช้ประโยชน์จากสเปกตรัมย่านความถี่ 850 MHz และศักยภาพในการ Refarming และการจัดสรค์สเปกตรัมย่านความถี่ UHF ซึ่งจำนวนของผู้ให้บริการรายอื่น ๆ จะนำสเปกตรัมย่านความถี่นี้ใช้งานเพื่อช่วยให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการ (Converage Area) เมื่อ HSPA เริ่มเปิดให้บริการ

HSPA เป็นสิ่งที่เหนือกว่าด้วยการยกระดับซอฟต์แวร์ที่อยู่บน Rel. 99 ของมาตรฐาน UMTS การยกระดับนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดปัจจัยแฝงของการเชื่อมโยง (Link) และได้รับโดย คือ การใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับจำนวนเทคนิคต่าง ๆ คือ
  • Adaptive Modulation and Coding ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่ใน NODE B (สถานี Base Station) จะทำการวิเคราะห์ผู้ใช้งานแต่ละคนที่อยู่บนเซลล์ (Cell) ในเรื่องคุณภาพของสัญญาณและกรใช้งานของข้อมูลและความจุของเซลล์ ณ เวลาที่ทำการตรวจสอบที่ใช้รูปแบบการมอดูเลชั่นสัญญาณเพื่อติดต่อกับอุปกรณืแต่ละตัว ดังนั้นคุณภาพของสัญญาณที่ดีและเซลล์รับภาระโหลดน้อย Node B จะกำหนดให้ใช้เทคนิคการมอดูเลชั่นแบบ 16QAM เพื่อเลือกค่าอัตราความเร็วข้อมูลท่มีค่ายอดสูงถึง 3.6 Mbps และลดค่าลงไปสู่การใช้เทคนิคการมอดูเลชั่นแบบ QPSK ที่เกี่ยวเนื่องอัตราความเร็วข้อมูลต่ำ ถ้าเงื่อนไขกลสยเป็นที่ไม่ได้รับความนิยม
  • Fast Packet Scheduling ขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ที่อยู่ในเซลล์ได้รายงานความแข็งแรงของสัญญาณ โดย Node B สามารถที่จะตรวจสอบว่าอุปกรณ์ตัวใดส่งข้อมูลไปยังรอบเวลา (Time Frame) ในระยะเวลาอีก 2 ms ดังนั้นจะทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากที่สุดจากแบรนด์วิธที่ใช้งานได้ ซึ่ง Node B สามารถที่จะทำการตรวจสอบได้ด้วยเหมือนกันว่า มีจำวนข้อมูลมากเท่าใดที่ส่งไปยังอุปกรณ์แต่ละตัวที่อยู่บนพื้นฐานของการเชื่อมต่อ ระบบ HSPA ใช้ 16 Codes ซึ่งจำนวน 15 Codes ถูกใช้งานกับ HSPA ดังนั้น Node B ทำการตรวจสอบว่ามีจำนวน Codes เท่าใดที่กำหนดไปยังอุปกรณ์แต่ละตัวที่อยู่ภายในเซลล์ที่หนดค่า Time Slot ไว้ 2 ms ซึ่งจะทำการตรวจสอบอัตราความข้อมูลทั้งหมดที่ถูกส่งออกไป Node B สมารถกำหนด Time Slot ทั้งหมดและจำนวนทั้งหมด 15 Codes ไปยังอุปกรณ์ตัวเดียวที่อยู่ในเซลล์และถ้าตัวอุปกรณืรายงานผลว่าสถานภาพของสัญญาณดีก็จะได้รับอัตราความเร็วข้อมูลสูงสุด
  • Hybrid Automatic Repeat request (HARQ) เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในการแก้ค่าผิดพลาด (Correct Errors) ในการส่งสัญญาณของแพ็คเก็จระหว่าง Node B และตัวอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน (User' s Device) ตัวอุปกรณ์ได้มีการร้องขอการส่งสัญญาณใหม่อีก ในส่วนของแพ็คเก็จใด ๆ ที่เป็นค่าผิดพลาดในขณะที่กำลังเก็บแพ็คเก็จเก่าที่ไม่ถูกต้องไว้ ดังนั้นตัวอุปกรณืเริ่มรวบรวมแพ็คเก็จทั้งหมดเพื่อแก้ค่าผิดพลาด ซึ่งมันจะเก็บค่าแพ็คเก็จทั้งหมดที่ผิดพลาดและใช้งานเพื่อแก้ไขสัญญาณ จะเป็นวิธีการที่มีความเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพมากกว่า
  • HSDPA (High Speed Data Package Access) มีความสามารถในการรับไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่บนเคื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเราได้ เช่น ไฟล์ข้อมูลที่แนบมากับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Power Point หรือ Web Page โดยที่โครงข่าย HSDPA มีอัตราความเร็วข้อมูลสูงสุดประมาณ 3 - 6 Mbps สามารดดาวน์โหลดข้อมูลปกติที่เป็นไฟล์ข้อมูลดนตรีที่มีขนาด 3 Mbytes ใช้ระยะเวลาในการดาวน์โหลดไฟล์นี้เพียง 8.3 วินาที และไฟล์ข้อมูลที่เป็นวีดีโอคลิปมีขนาด 5 Mbytes สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลนี้ใช้เวลาเพียง 13.9 วินาที ซึ่งอัตราความเร็วข้อมูลที่ได้รับจากเทคโนโลยี HSDPA นี้จะมีอัตราความเร็วข้อมูลสูงสุด 14.4 Mbps แต่ผู้ให้บริการโครงข่ายส่วนใหญ่ได้จัดเตรียมอัตราความเร็วข้อมูลอยู่ที่ 3.6 Mbps และในการเปิดให้บริการครั้งแรกจะมีอัตราควมเร้วข้อมูล 7.2 Mbps นั้นมีอัตราการเติบโตเต็มที่รวดเร็วมาก โครงข่าย HSDPA ได้มีการเปิดใช้งานมา 2 ปีแล้ว และได้ถูกจัดวางไว้ในการนำเสนอเป็นบรอด์แบรนด์เคลื่อนที่ (Mobile Broadband) ไปงานทั่วโลก
  • HSUPA เป็นการใช้ประฌบชน์เทคนิคเดียวกับ HSDPA เทอมของการปรับตัวของการเชื่อมโยงบนการมอดุเลชั่นที่ถูกนำมาใช้งานและ HARQ ใช้งานเอปรับปรุง Uplink และสร้างการส่งสัญญาณข้อมูลที่พร้อมกันที่มีขนาดความเร็วข้อมูลสูงถึง 5.4 Mbps มีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อยที่อยู่ในเส้นทางการทำงาน เพื่อที่จะให้บริการอุปกรณ์ได้ทั้งหมดในการ Upload และลดวิธีการมอดุเลชั่น
  • Scheduling นี่คือกลไกการร้องขอี่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กับ Fast Packet Scheduling ข้างบน แต่เริ่มต้นโดยตัวอุปกรณ์ ตัวอุปกรณ์ร้องขอให้มีการอนุญาตในการส่งข้อมูลและ Node B จะทำการตรวจสอบอยู่บนเซลล์ที่กำลังรับภาระโหลดร้องขอและระดับกำลังงานที่อยู่ภายในเซลล์เมื่อใดและอุปกรณ์เท่าใดที่ถูกยอมให้อนุญาตและที่อัตราความเร็วข้อมูลเท่าไร
  • Non-Scheduling สำหรับการใช้งานที่แน่นอน เมื่อมีการหน่วงเวลาบนฐานของการ้องขอ Scheduling และอยู่บน Node B ควรจะมีขนาดใหญ่พอ เช่น VoIP มีวิธีการอื่นที่ตัวอุปกรณ์เริ่มต้นส่งสัญญาณ ในกรณีนี้ระดับพลังงานถูกกำหนดโดยตัวอุปกรณ์และมีค่าคงที่ เมื่อมีกิจกรรมี่มีการร้องขอ Schedule ซึ่ง Node B จะตรวจสอบระดับพลังงานของตัวอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณและจะถูกควบคุมแบบพลวัต เพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิธิภาพสูงสุดสำหรับอุปกรณ์ทั้งหมดทุกตัวที่อยู่บนเซลล์นั้น ๆ
  • HSUPA (High Speed Uplink Access) นี่เป้นการขยายเพิ่มออกไปอีกในการเพิ่มอัตราความเร็วข้อมูล โดยท่เราสามารถติดต่อสื่อสารจากตัวอุปกรณ์เคลื่อนที่ของเรา ตัวอย่างเช่น กรณีนี้เราสามารถอัพโหลดวีดีโอ (Upload Video) ไปยัง YouYube ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที ดังนั้นเราสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้อย่างรวดเร็วแบบทันทีทันใด อัตรความเร็วข้อมูลในการอัพโหลดที่ 384 Kbps ด้วยเทคโนโลยี HSUPA ในขณะที่อัตราความเร็วข้อมูลได้เพิ่มสูงสุดประมาณ 5.7 Mbps ในปัจจุบันนี้ HSUPA สามารถใช้บริการได้เพียงไม่กี่ประเทศ และในปีนี้คาดว่าจะเปิดให้บริการอย่างจริงจังทั่วโลก
  • HSPA Evolved บางครั้งก็อ้างถึง HSPA+ หรือ I-HSPA (มีความแตกต่างกันเล็กน้อยแต่จำนวนเป้าหมายสุดท้ายเหมือนกันสำหรับู้ใช้งาน) ระบบนี้จะเพิ่มอัตราความเร็วข้อมูลของ Downlink ที่จัดเตรียมไว้ 42 Mbps ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคนิคการมอดูเลชั่นแบบ 64 QAM และอัตราความเร็วข้อมูล Uplink สูงถึง 11.5 Mbps ด้วยการใช้เทคนิคการมอดูเลชั่นแบบ 16 QAM สำหรับการเพิ่มในอนาคตเพื่อช่วยให้การรับข้อมูลในการเพิ่มอัตราความเร็วข้อมลเป็นการเสริมของสายอากาศ MIMO (Multiple in multiple out) ปกติถูกนำมาใช้งานในการขยายประสิทธิภาพของระบบโดยมีขนาด 4 เท่า

HSPA Evolve หรือที่เรารู้จักเทคโนโลยีนี้ในนามของ HSPA+ นั้น เป็นขั้นตอนต่อไปและได้เป็นที่น่าสนใจอย่างมากในการให้การบริการส่งข้อมูลที่เราสามารถลือกอัตราความเร็วข้อมูลในการส่งข้อมูลให้มีอัตราความเร็วข้อมูลสูงสุดได้ถึง 42 Mbps ในการดาวน์ลิงค์ (Downlink) และมีอัตราความเร็วข้อมุล 11 Mbps สำหรับการอัพลิงค์ (Uplink) ซึ่ง HSPA+ จะนำมาให้บริการได้อย่างเป็นทางการในปลายปี 2008 หรือต้นปี 2009


ขีดความสามารถในการสื่อสารข้อมูลของ HSPA

ในแง่ของการใช้ประโยชน์จากสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เทคโนโลยี HSPA สามารถทำงานได้กับสถานีฐาน WCDMA เดิม รวมถึง สายอากา (Antenna) และสายนำสัญญาณคลื่นวิทยุ (Antenna Feeder) การพัฒนาเครือข่าย WCDMA ไปเป็น HSPA ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์ในกลุ่มเครือข่ายเข้าถึง และอาจมีการเพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพยงเล็กน้อยเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้นซึ่งถือเป็นการจูงใจในเชิงเศรษฐศาสตร์การลงทุน ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก WCDMA ไปเป็น HSPA ด้วยต้นทุนไม่มากนัก และยังคงใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์เครือข่าย WCDMA เดิมได้ทั้งหมด ในทางกลับกันก็ได้เพิ่มศักยภาพในการให้บริการสื่อสารข้อมูลอัตราเร็วสูง ซึ่ง HSPA ถือเป็นหนึ่งในมาตรฐานการให้บริการในยุค Broadband Wireless Access (BWA) เช่นเดียวกับเทคโนโลยีคู่แข่งอื่น ๆ เช่น WiMAX และ Flash-OFDM
เทคโนโลยี HSPA ในปัจจุบันสามารถตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคได้ในหลายลักษณะตั้งแต่การใช้งานประจำที่ไปจนถึงการใช้งานขณะเดินทางด้วยความเร็วสูง โดยยังคงสามารถรักษาอัตราเร็วในการสื่อสารในระดับ BWA ได้ จึงถือเป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานได้ในหลายรูปแบบ ในขณะที่เทคโนโลยีในกลุ่ม BWA ชนิดอื่น ๆ เช่น WiMAX ซึ่งแม้จะรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วที่สูงกว่า HSPA ในปัจจุบัน แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของพฤติกรรมการนำเครื่องลูกข่ายไปใช้งาน เช่น การใช้ในขณะเดินทางเคลื่อนที่แม้จะด้วยความเร็วท่ไม่มากนัก แต่ก็มีผลทำให้อัตราความเร็วในการสื่อสารลดต่ำลง ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะประจำที่มากกว่าประกอบกับเส้นทางในการพัฒนาขีดความสามารถในการสื่อสารข้อมูลของ HSPA ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้น จึงทำให้ HSPAเป็นทางเลือกหลักสำหรับการให้บริการ BWA ทั้งในปัจจุบันและอนาคต


แนวทางในการเลือกลงทุนเปิดให้บริการเรือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยพิจารณาตามพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค


ในมุมมองของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์การลงทุนตามพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค และบริหารต้นทุนในการสร้างเครือข่ายได้อย่างสออดคล้องกับแผนกรเงินด้วยการเลือกสร้างเครือข่าย WCDMA เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลภายในเขตเมือง ในขณะที่ใช้เครือข่าย GSM/GPRS/EDGE รองรับ การสื่อสารในภูมิภาค ซึ่งส่วนใหย่ยังคงเน้นการพูดคุย (Voice) และการสื่อสารข้อมูลทีมีอัตราเร็วไม่มากนัก เช่น การดาวน์โหลดข้อมูลสำหรับการลงทุน HSPA นั้น ผู้ให้บริการยังสามารถเลือกกำหนดพื้นที่หนาแน่นภายในเขตเมือง (Dense Urban) ที่คาดว่าจะมีปริมาณการบริการข้อมูลแบบ BWA สูงมาก ๆ เมื่อศึกษาการใช้งานของผู้บริโภคไประยะหนึ่งแล้ว ก็อาจทยอยพัฒนาอุปกรณ์สถานีฐาน WCDMA ใหมีการทำงานเป็นแบบ HSPA มากขึ้น หรือยิ่งกว่านั้นก็อาจปรับเปลี่ยนสถานีฐาน 2G ที่ทำงานด้วยเทคโนโลยี EDGE ในพื้นที่ภูมิภาคหรือชานเมืองให้เป็นสถานีฐาน WCDMA/HSPA มากขึ้นตามสภาพธุรกิจในมุมมองของการลงทุน จึงนับว่าเส้นทางการพัฒนาของเทคโนโลยี WCDMA และ HSPA ตอบรับกับการขยายธุรกิจของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งกลุ่มที่มีเครือข่าย GSM เป็นของตนเองอยู่ก่อนแล้ว และทั้งกลุ่มใหม่ที่เริ่มสนใจเข้ามาลงทุนให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยเริ่มจากการสร้างเครือข่าย WCDMA
ขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลของมาตรฐานเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ชนิดต่าง ๆ ในสายตระกูล 3GPP ที่ใช้มาตรฐานการเข้ารหัสสัญญาณแบ CS3 และ CS4 (Coding Scheme 3 และ 4) ซึงเป็นการเข้ารหัสก้อนข้อมูลที่เน้นให้มีส่วนของเนื้อหาข้อมูล (User Payload) มากกว่าส่วนของการรักษาความถูกต้องของข้อมูล (Correction Payload) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วที่มากกว่า Coding Scheme แบบต่ำ ๆ เช่น แบบ 1 และ 2 แต่ก็มีความเส่ยงท่ข้อมูลจะได้รับความเสียหายจากสัญญาณรบกวนภายในอากาศขณะมีการรับส่ง จากนั้นจึงเป็นกรแสดงขีดความสามารถของมาตรฐาน EDGE ที่ใช้มาตรฐานการเข้าสัญญาณแบบ MCS9 (Modulation and Coding Scheme 9) ซึ่งก็เป็นรูปแบบการเข้ารหัสที่รองรับการส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุดในมาตรฐาน EDGE แต่ก็มีความเสี่ยงต่อการถูกรบกวนสูงสุดเช่นกัน ขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลของมาตรฐาน WCDMA (ภายใต้การเรียกชื่อว่า UMTS) รวมถึงมาตรฐาน HSDPA ทั้งหมดนี้เป็นการวัดประเมินประสิทธิภาพในด้านอัตราเร็วของกรสื่อสารในทิศทางรับ (Downlink) จากสถานีฐานไปสู่เครื่องลูกข่าย โดยมีการทดสอบการรับส่งกับข้อมูลต่างประเภทกัน ได้แก่ รูปภาพขนาดเล็ก ๆ (ภาพขนาด VGA ที่ถ่ายจากกล้องของโทรศัพท์เคลื่อนที่) ภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (ถ่ายจากกล้องด้วยความละเอียดตั้งแต่ 1 ล้านพิกเซลขึ้นไป) จนถึงไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น คลิปวิดีโอ หรือไฟล์ Power Point
ผลที่ได้จากการทดสอบส่งข้อมูลประเภทต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละชนิด พบว่า ยิ่งข้อมูลมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด เทคโนโลยีสื่อสารแบบ HSDPA ก็ยิ่งแสดงประสิทธิภาพในแง่ของการประหยัดเวลาในการับส่งข้อมูลในอัตราที่สูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนหน้า แม้กระทั่งเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ WCDMA ที่มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 384 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ใช้บริการก็ยากที่จะได้รับช่องสัญญาณอัตราเร็วเท่านี้ เนื่องจากต้องมีการแบ่งแบรนวิดท์ร่วมกับผู้ใช้บริการรายอื่นในขณะที่การทดลองรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย HSDPA มีการจำกัดอัตราเร็วของเครือข่ายไว้ที่ 2 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งถือว่เป็นอัตราเร็วเฉลี่ยที่ผู้ใช้บริการจากเทคโนโลยี HSDPA ยิ่งเมื่อเทียบกับงบประมาณในกรลงทุนบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อน ๆ ซ่งปัจจุบันมีต้นทุนที่ไม่แตกต่างกันมากนักก็ยิ่งทำให้ผู้บริการเครือข่ายสามารถกำหนดกลยุทธ์ในการขยายขีดความสามารถของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนจาก GSM/GPRS/EDGE หรือแม้กระทั่ง WCDMA ให้เป็นเทคโนโลยี HSPA (HSDPA+HSUPA) ได้อย่างมั่นใจในความคุ้มทุน


ข้อดีของ HSPA 900 MHz

อยู่ที่เป็นคลื่นที่ส่งสัญญาณไปได้ไกลกว่า 2100 MHz ทำให้ลดต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์ แต่ข้อด้อยก็มีอยู่บ้าง เช่น การทะลุทะลวงของคลื่นสัญญาณอาจจะทำได้ไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับคลื่น 210 MHz เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่า คลื่น 900 MHz ใช้งานในบริเวณที่ราบไม่มีสิ่งกีดขวางมากนัก แต่ 2100 MHz ใช้งานได้ดีในย่านชุมชนที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น อาคาร เป็นต้น


คุณสมบัติของ HSPA

  1. Hi Speed Internet ในปัจจุบันมาตรฐานของการรับส่งข้อมูลที่เร้วที่สุด ยังอยู่ที่เทคโนโลยี EDGE ซึ่งให้ควมเร็วประมาณ 160 kbps แต่ HSPA ให้ความเร็วในการโหลดข้อมูลที่ 7.2 Mbps ต่างกัน 4.5 เท่า (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อว่ารองรับความเร็วได้สูงสุดไหร่)
  2. Video Call ถือว่าเป็นมาตรฐานของเทคโนโลยี 3G ที่มีในโทรศัพท์มือถือ โดยคู่สนทนาจะเห็นหน้าซึ่งกันและกันผ่านกล้องที่อยู่ด้านหน้าโทรศัพท์มือถือ การใช้งานจริงอาจจะมีการดัเลย์บ้างเป็นบางครั้ง แต่โดยรวมถือว่าใช้งานได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น: